วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทเบิลเทนิสวิกีพีเดีย

เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาโอลิมปิก โดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คนตีลูกบอลกระทบหน้าไม้หรือหลังไม้ให้ข้ามไปยังอีกฝากหนึ่งของโต๊ะ ซึ่งมันคล้ายกับกีฬาเทนนิส กฎกติกามีความแตกต่างกันบ้าง แต่มองภาพรวมแล้วเทเบิลเทนนิสกับเทนนิสมีลักษณะคล้ายกัน ในเกมเดี่ยว ไม่จำเป็นต้องตีลูกบอลให้ข้ามไขว้จากฝั่งขวามือของผู้ส่งไปยังฝั่งขวามือของผู้รับ(หรือซ้ายมือผู้ส่ง ไปยังซ้ายมือของผู้รับ)เหมือนกับเทนนิส อย่างไรก็ดี การเสิร์ฟไขว้ในลักษณะนั้นจำเป็นต้องมีในเกมเล่นคู่ ลูกสปิน ลูกเร็ว ลูกหยอด ซึ่งกลยุทธ์และเทคนิคการเล่นก็มีความสำคัญสำหรับเกมแข่งขันที่มีการชิงชัยชนะความเร็วของลูกบอลนั้นเริ่มจากการพุ่งด้วยความเร็วต่ำๆ ไปจนถึงการพุ่งด้วยความเร็วสูง ๆ โดยเฉพาะในลูกสปิน ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ที่ 112.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 69.9 ไมล์ต่อชั่วโมง[2] กีฬาเทเบิลเทนนิสมักใช้เนื้อที่ในการเล่นทางยาวประมาณ 2.74 เมตร ทางกว้างประมาณ 1.525 เมตร และสูงจากพื้นราวเอวประมาณ 0.76 เมตร แต่ทางสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล กำหนดไว้ว่าต้องมีเนื้อที่เล่นทางยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร ทางกว้าง 7 เมตร และสูงจากพื้นประมาณ 5 เมตร สำหรับเกมการแข่งขัน ไม้ตีปกติแล้วมีแผ่นยางบางติดอยู่หน้าไม้ ยางมีปุ่มเล็กๆอยู่ด้านหนึ่ง เป็นชั้นบาง ๆอยู่ระหว่างตัวไม้ตีกับผิวหน้าฟองน้ำรองหน้าไม้อีกชั้นหนึ่ง ตั้งแต่การเล่นสปินได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในกีฬาเทเบิลเทนนิสของปัจจุบัน ได้มีการปรับคุณภาพของตัวยาง ฟองน้ำ และวิธีการประกอบยางเข้ากับตัวฟองน้ำ เพื่อเพิ่มความเร็วและอัตรการหมุนของลูกจากปกติ ส่วนเทคนิคการปรับเพิ่มคุณภาพอย่างอื่นได้แก่ การใช้คาร์บอนหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นเข้ามาประกอบกัน เพื่อทำให้เพิ่มความแม่นยำในการตีลูกให้มากขึ้นลูกบอลที่ใช้ในกีฬาเทเบิลเทนนิสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40 มม. มักทำมาจากเซลลูลอยด์และมีด้านในกลวง ๆ ตราสามดาวที่ติดอยู่บนลูกบอล หมายถึง คุณภาพที่ดีเยี่ยมของลูกนั้นเองเมื่อเปรียบเทียบกับลูกอื่น ๆ ผู้ชนะ คือ คนที่ทำแต้มได้ 11 คะแนนก่อน และมีการเปลี่ยนเสิร์ฟลูกในทุกๆ 2 แต้ม หากมีผลการแข่งกันเป็น 10-10 ผู้เล่นจะสลับกันเสิร์ฟ(และผู้เล่นชนะ คือคนที่ทำคะแนนได้ 2 แต้มติดต่อกัน) เกม 11 คะแนน เป็นเกมการแข่งขันที่ได้มีขึ้นจากสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล(ITTF) การเปลี่ยนแปลงนี้ได้มีขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ทุกเกมที่เล่นกันในระดับชาติหรือระดับทัวร์นาเม้นต์สากลมักเป็นเกม 11 คะแนน ส่วนระดับชิงแชมป์เป็นเกม 7 คะแนน และในระดับที่ย่อมลงมาเป็นเกม 5 คะแนน

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส เท่า ที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน วิธี การเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง ใน ปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่า มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) อย่างแท้จริง เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK) และการรับ (DEFENDIVE) ทั้งด้าน FOREHAND และ BACKHAND การ จับไม้ก็คงการจับแบบ SHAKEHAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” ไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย DR. GEORG LEHMANN แห่งประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ โดยมีนายอีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี ค.ศ. 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ 2. ไม้ต้องติดยางเม็ด 3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ 1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง 2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น ศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความ รอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง 7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959 สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง ในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ในปี 1961 ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและ รับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับการศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้ บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของ ชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่ ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบ รับได้ฝังรากในยุโรป จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่ มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยน วิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของ ยุโรป เป็นอย่างมาก และแล้วในปี 1970 จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉาย แสงเก่งขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขัน เทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า ในปี 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิส ชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง 18 ปี ในปี 1973 ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่น ที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญในขณะที่ นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI – SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่า เป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก มีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่าง ไม่มีที่วันสิ้นสุด และขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก
ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส เท่า ที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน วิธี การเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง ใน ปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่า มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) อย่างแท้จริง เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK) และการรับ (DEFENDIVE) ทั้งด้าน FOREHAND และ BACKHAND การ จับไม้ก็คงการจับแบบ SHAKEHAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” ไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย DR. GEORG LEHMANN แห่งประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ โดยมีนายอีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี ค.ศ. 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ 2. ไม้ต้องติดยางเม็ด 3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ 1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง 2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น ศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความ รอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง 7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959 สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง ในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ในปี 1961 ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและ รับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับการศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้ บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของ ชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่ ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบ รับได้ฝังรากในยุโรป จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่ มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยน วิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของ ยุโรป เป็นอย่างมาก และแล้วในปี 1970 จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉาย แสงเก่งขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขัน เทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า ในปี 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิส ชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง 18 ปี ในปี 1973 ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่น ที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญในขณะที่ นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI – SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่า เป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก มีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่าง ไม่มีที่วันสิ้นสุด และขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก

วิธีการแข่งขันเทเบิลเทนนิส

วิธีการแข่งขันเทเบิลเทนนิส ชอบเรื่องนี้การดำเนินการแข่งขัน (MATCH PROCEDURE) 1 ผู้เล่นจะต้องไม่ทำการคัดเลือกลูกเทเบิลเทนนิสในพื้นที่แข่งขัน 1.1 หากมีโอกาส ควรให้ผู้เล่นทำการคัดเลือกลูกเทเบิลเทนนิสที่จะใช้ทำการแข่งขันจำนวน 1 ลูกหรือมากกว่าก่อนที่ผู้เล่นจะลงทำการแข่งขัน และการแข่งขันในแมทช์นั้น ๆ จะต้องแข่งขันด้วยลูกเทเบิลเทนนิสที่ผู้เล่นคัดเลือกมาเท่านั้น โดยผู้ตัดสินเป็นผู้สุ่มขึ้นมา 1.2 หากผู้เล่นไม่ได้คัดเลือกลูกเทเบิลเทนนิสก่อนลงทำการแข่งขัน ให้ผู้ตัดสินผู้สุ่มจากลูกที่มีอยู่เพื่อใช้แข่งขัน 1.3 ระหว่างแมทช์การแข่งขัน หากจะต้องเปลี่ยนลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้แข่งขัน ให้ผู้ตัดสินสุ่มเลือกลูกที่ได้เลือกไว้ก่อนการแข่งขัน หากไม่สามารถทำได้ ให้ผู้ตัดสินสุ่มเลือกลูกที่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อแข่งขัน 2 ผู้เล่นจะเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสได้ในระหว่างแมทช์ การแข่งขันเมื่อเกิดจากอุบัติเหตุจนไม่สามารถใช้แข่งขันได้เท่านั้น โดยผู้เล่นสามารถเปลี่ยนไม้อันใหม่ได้ ด้วยไม้ของผู้เล่นที่นำติดตัวเข้ามาในพื้นที่การแข่งขันหรือไม้ที่ถูกส่งให้ กับผู้เล่นในพื้นที่การแข่งขันก็ได้ 3 ผู้เล่นจะต้องวางไม้เทเบิลเทนนิสของเขาบนโต๊ะแข่งขันระหว่างหยุดพักระหว่างเกม 4 ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้ฝึกซ้อมบนโต๊ะแข่งขันเป็นเวลาไม่เกิน 2 นาที ก่อนการแข่งขัน สำหรับในช่วงเวลาระหว่างการแข่งขัน จะไม่สามารถทำการฝึกซ้อมได้ ซึ่งการฝึกซ้อมนอกเหนือจากที่กล่าวมาอาจจะขยายออกไปได้โดยการอนุญาตของผู้ ชี้ขาด 5 ระหว่างการยุติการเล่นฉุกเฉิน ผู้ชี้ขาดจะอนุญาตให้ผู้เล่นทำการซ้อมบนโต๊ะแข่งขันนั้น รวมไปถึงโต๊ะแข่งขันอื่น ๆ ได้ 6 ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตอย่างมีเหตุผลที่จะตรวจสอบอุปกรณ์ที่เปลี่ยนใหม่อัน เกิดจากการชำรุด เช่น ไม้เทเบิลเทนนิส หรือลูกเทเบิลเทนนิสที่ชำรุด แต่ก็จะไม่มากไปกว่าการฝึกตีโต้ 2-3 ครั้ง ก่อนการเล่นใหม่ 7 การแข่งขันจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นเวลาหยุดพักที่ได้รับอนุญาต 8 ผู้เล่นสามารถหยุดพักได้ไม่เกิน 1 นาที ในระหว่างจบการแข่งขัน 9 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะอนุญาตให้หยุดเพื่อทำการเช็ดเหงื่อได้ในช่วงเวลาอันสั้น ๆ เมื่อครบทุก ๆ 6 คะแนนเท่านั้น และเมื่อขณะเปลี่ยนแดนกันในเกมสุดท้าย 10 ผู้เล่นหรือคู่เล่นสามารถขอเวลานอกได้แมทช์ละ 1 ครั้งไม่เกิน 1 นาที 10.1 ประเภทบุคคล ผู้เล่นหรือคู่เล่น หรือผู้ฝึกสอนที่ถูกกำหนดไว้เป็นผู้ขอเวลานอก ประเภททีม ผู้เล่นหรือคู่เล่นหรือหัวหน้าทีมเป็นผู้ขอเวลานอก 10.2 การขอเวลานอก จะขอได้ขณะที่ลูกไม่อยู่ในระหว่างการเล่น โดยผู้ขอใช้มือทำสัญลักษณ์เป็นรูปตัว “ที” 10.3 ผู้ตัดสินจะหยุดการแข่งขัน โดยชูใบขาวเหนือศีรษะแล้ววางไว้บนโต๊ะ ในแดนของผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ขอเวลานอก 10.4 ผู้ขอเวลานอก เป็นผู้ใช้สิทธิ์ในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ 10.5 ถ้าผู้เล่นหรือคู่เล่น และผู้ฝึกสอนที่ถูกกำหนดไว้หรือหัวหน้าทีมไม่สามารถตกลงกันได้ในการขอเวลา นอกอำนาจในการตัดสินใจครั้งสุดท้ายให้ถือดังนี้ ในประเภทบุคคลโดยผู้เล่นหรือคู่เล่น ในประเภททีมโดยหัวหน้าทีม 10.6 ถ้าการขอเวลานอกได้กระทำขึ้นพร้อมกันโดยผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่าย เมื่อครบกำหนดการขอเวลานอก 1 นาที หรือทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะเล่นต่อ การเล่นจะดำเนินต่อไป และผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในการขอเวลานอกได้อีก ระหว่างการแข่งขันประเภทแมทช์ประเภทบุคคลนั้น ๆ 10.7 ผู้ชี้ขาดอาจจะอนุญาตให้ยุติการเล่นชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นที่สุด ซึ่งจะไม่เกิน 10 นาที ถ้าผู้เล่นไม่สามารถเล่นได้ เนื่องจากอุบัติเหตุ โดยมีเงื่อนไขว่าในความเห็นของผู้ชี้ขาดการยุติการเล่นชั่วคราวนั้นไม่น่าจะ ทำให้ผู้เล่นหรือคู่เล่นฝ่ายตรงกันข้ามเสียเปรียบเกินควร 10.8 การยุติการเล่นชั่วคราว จะไม่อนุญาตสำหรับความไม่พร้อมของร่างกายที่จะเกิดขึ้นในขณะแข่งขัน หรือคาดว่าจะเกิดก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น เช่น ความอ่อนเพลีย ตะคริว หรือความไม่สมบูรณ์ของผู้เล่นเหล่านี้จะไม่อนุญาตให้เป็นการยุติการเล่นฉุก เฉินการยุติการเล่นฉุกเฉินจะยุติในกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น เช่น การบาดเจ็บเนื่องจากหกล้ม 10.9 ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งในบริเวณพื้นที่แข่งขันมีเลือดออก การเล่นจะยุติและการลงแข่งขันจะไม่ดำเนินต่อจนกว่าบุคคลนั้นจะได้รับปฐม พยาบาล และทำความสะอาดเลือดออกจากพื้นที่การแข่งขันแล้ว 10.10 ผู้เล่นจะต้องอยู่ในพื้นที่การแข่งขันหรือใกล้พื้นที่การแข่งขันตลอดการแข่ง ขันนั้น โดยการหยุดพักระหว่างเกมและการขอเวลานอก ผู้เล่นจะต้องอยู่ในระยะไม่เกิน 3 เมตร ของพื้นที่การแข่งขันภายใต้การควบคุมของผู้ตัดสิน การออกนอกระยะดังกล่าวสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาด ลำดับการเล่น (THE ORDER OF PLAY) 1.1 ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปอย่างถูกต้องหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตี โต้ 1.2 ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้องตีลูกกลับ แล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับจะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันไปในการตีโต้ 2 ลูกที่ให้ส่งใหม่ (A LET) 2.1 การส่งซึ่งถือให้เป็นการส่งใหม่ ต้องมีลักษณะดังนี้ 2.1.1 ถ้าลูกที่ฝ่ายส่งได้ส่งไปกระทบส่วนต่าง ๆ ของตาข่าย แล้วข้ามไปในแดนของฝ่ายรับโดยถูกต้องหรือส่งไปกระทบส่วนต่าง ๆ ของตาข่าย แล้วผู้รับหรือคู่ฝ่ายรับขวางลูก หรือตีลูกก่อนที่ลูกจะตกกระทบแดนของเขาในเส้นสกัด 2.1.2 ในความเห็นของผู้ตัดสิน ถ้าลูกที่ส่งออกไปแล้วฝ่ายรับหรือคู่ฝ่ายรับยังไม่พร้อมที่จะรับ โดยมีข้อแม้ว่า ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับไม่พยายามจะตีลูก 2.1.3 ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากมีเหตุรบกวนนอกเหนือการควบคุมของผู้เล่นทำให้การส่ง การรับ หรือการเล่นนั้นเสียไป 2.1.4 ถ้าการเล่นถูกยุติโดยผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยตัดสิน 2.2 การเล่นอาจถูกยุติลงในกรณีต่อไปนี้ 2.2.1 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ในลำดับการส่ง การรับลูกหรือการเปลี่ยนแดน 2.2.2 เมื่อการแข่งขันได้ถูกกำหนดให้ใช้ระบบการแข่งขันระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา 2.2.3 เพื่อเตือนหรือลงโทษผู้เล่น 2.2.4 ในความคิดเห็นของผู้ตัดสิน หากเห็นว่าสภาพการเล่นถูกรบกวนอันจะเป็นผลต่อการเล่น 3. ได้คะแนน (A POINT) นอกจากการตีโต้จะถูกสั่งให้เป็นเน็ท ผู้เล่นจะได้รับคะแนนจากกรณีดังต่อไปนี้ 3.1 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ไม่สามารถส่งลูกได้อย่างถูกต้อง 3.2 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ไม่สามารถรับลูกได้อย่างถูกต้อง 3.3 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ตีลูกสัมผัสถูกสิ่งใด ๆ นอกเหนือจากส่วนประกอบของตาข่าย 3.4 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ตีลูกผ่านเลยเส้นสกัดของเขาโดยไม่ได้สัมผัสกับพื้นผิวโต๊ะ 3.5 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ขวางลูก 3.6 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ตีลูกติดต่อกันสองครั้ง 3.7 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ตีลูกด้วยหน้าที่ไม่ถูกต้องตามกติกา 3.8 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม หรือสิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามสวมใส่หรือถืออยู่ ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่ 3.9 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม หรือสิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่ สัมผัสถูกส่วนต่าง ๆ ของตาข่าย 3.10 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ใช้มืออิสระสัมผัสถูกผิวโต๊ะ 3.11 ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ตีลูกผิดลำดับในการเล่นประเภทคู่ยกเว้นลำดับโดยคนเสิร์ฟ หรือคนเสิร์ฟ 3.12 ในระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา ถ้าเขาหรือคู่ของเขาสามารถตีโต้กลับไปได้อย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง

กติกาเทเบิลเทนนิส

กติกาเทเบิลเทนนิส โต๊ะ 1. พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า พื้นผิวโต๊ะ จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร ความกว้าง 1.525 เมตร และจะต้องสูงได้ระดับโดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร 2. พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา 3. พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร 4. พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มและเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นข้าง เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นสกัด 5. พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดนเท่า ๆ กันด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด 6. สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นสีขาวมีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า เส้นกลาง และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย 7. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง ส่วนประกอบของตาข่าย 1. ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบไปด้วย ตาข่าย ที่แขวน และ เสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส 2. ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผู้ติดปลายยอดเสา ซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร และยื่นออกไปจากเส้นข้างของโต๊ะถึงตัวเสาด้านละ 15.25 เซนติเมตร 3. ส่วนบนสหุดของตาข่ายตลอดแนวยาว จะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร 4. ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะและส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 5. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันตะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น ลูกเทเบิลเทนนิส 1. ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกลม และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 38 มิลลิเมตร 2. ลูกเทเบิลเทนนิสจะมีน้ำหนัก 2.5 กรัม 3. ลูกเทบิลเทนนิสจหะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์ หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน โดยให้มีสีขาว สีเหลือง สีส้ม และเป็นสีด้าน 4. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสเท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง ไม้เทเบิลเทนนิส 1. ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบน เรียบ และแข็ง 2. อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ซึ่งทำด้วยวัสดุไฟเบอร์ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาซไฟเบอร์ หรือกระดานอัด จะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 ของควาหมนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า 3. หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ในการตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับ วัสดุนี้จะเป็นยางเม็ดธรรมดาแผ่นเดียวกัน โดยหันเอาเม็ดออกมาด้านนอก และไม่มีฟองน้ำรองรับ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้ว จะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางแผ่นเดียวกันชนิดมีฟองน้ำรองรับโดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ในหรือเอาเม็ดยางอยู่ด้านนอกก็ได้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้ว จะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร 3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดาจะต้องเป็นชิ้นเดียวและไม่มีฟองน้ำรองรับ จะทำด้วยยางหรือยางสังเคราะห์มีเม็ดยางกระจายอยู่สม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ด ต่อ 1 ตารางเซ้นติเมตร และไม่มากกว่า 50 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 3.2 แผ่นยางชนิดมีฟองน้ำ ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร 4. วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมตลอดหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกิดขอบของหน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุด และที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้ามจับ 5. หน้าไม้เทเบิลเทนนิสชั้นภายในหน้าไม้ ชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาวจะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันโดยตลอด 6. หน้าไมเทเบิลเทนนิสจะต้องเป็นสีแดงสว่าง และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ โดยไม่คำนึงว่าหน้าไม้ด้านนั้นจะใช้ตีลูกเทเบิลเทนนิสหรือไม่ และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอ ไม่สะท้อนแสง ตามขอบของไม้เทเบิลเทนนิส จะต้องไม่สะท้อนแสงหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นสีขาว 7. วัสถุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ผลิตยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อ และชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติครั้งหลังสุดเท่านั้น 8. สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบที่เป็นพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส และตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูป หรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น 9. การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้ วัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาด เนื่องจากการเสียหาจากอุบัติเหตุ การใช้งาน หรือสีจาง อาจจะอนุญาตให้ใช้ได้โดยมีเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้หรือผิววัสดุปิดทับ 10. เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นตะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนินที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขันและกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง 11. ผู้เล่นจะต้องวางไม้เทเบิลเทนนิสของเขาบนโต๊ะแข่งขันระหว่างการหยุดพักในการเล่น 12. เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่น ที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสที่ใช้อยู่นั้นถูกต้องตามระเบียบและกติกา 13. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ชี้ขาด คำจำกัดความ 1. ระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น เรียกว่า การตีโต้ 2. การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน เรียกว่า ส่งใหม่ 3. การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน เรียกว่า ได้คะแนน 4. มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส เรียกว่า แร็กเกต แฮนด์ (Racket hand) 5. มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส เรียกว่า มืออิสระ 6. ถ้าผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถือ หรือสัมผัสมือขณะที่ถือไม้ตั้งแต่ข้อมือลงไป เรียกว่า การตีลูก 7. ถ้าผู้เล่นหรือสิ่งใด ๆ ที่เขาสวมใส่หรือถืออยู่ สัมผัสถูกลูกในขณะที่ลูกกำลังอยู่ในการเล่น โดยที่ลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของเขาหลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามตีลูกมาหใ และลูกนั้นยังไม่ผ่านพื้นผิวโต๊ะ หรือลหูกนั้นยังไม่พ้นเส้นสกัด เรียกว่า ขวางลูก (Obstructs) 8. ผู้ตีลูกเทเบิลเทนนิสครั้งแรกในการตีโต้ เรียกว่า ผู้ส่ง 9. ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสครั้งทื่ 2 ในการตีโต้ เรียกว่า ผู้รับ 10. ผู้ตัดสิน คือ บุคคลที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมเกมการแข่งขัน 11. สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถือ หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่ หรือที่กำลังถืออยู่ในขณะที่เริ่มต้นตีโต้ 12. ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านหรืออ้อมตาข่าย ถ้าลูกผ่านตาข่าย ผ่านใต้เสาตาข่าย หรือผ่านด้านนอกเสาตาข่ายที่ยื่นออกไป หรือในกรณีที่ตีลูกแล้วกระดอนถอยหลังข้ามตาข่ายกลับมาด้วยแรงหมุนของมันเอง 13. เส้นสกัด ให้รวมไปถึงเส้นสกัดสมมติที่ต่อออกไปในแนวเดียวกันด้วย การส่งลูก 1. เมื่อเริ่มส่งลูก ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามือของมืออิสระ โดยแบฝ่ามือออกและลูกต้องหยุดนิ่ง โดยลูกนั้นต้องอยู่หลังเส้นสกัดและอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ 2. ในการส่งลูก ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นไปข้างบนด้วยมือให้ใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉากมากที่สุด และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ 3. ผู้ส่งจะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดลงแล้ว เพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ 4. ทั้งลูกเทเบิลเทนนิสและไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือพื้นผิวโต๊ะตลอดเวลาที่เริ่มทำการส่งลูกจนกระทั่งไม่ได้กระทบลูกไปแล้ว 5. ในการส่งลูก ขณะที่ลูกกระทบหน้าไม้ จะต้องอยู่เหนือ เส้นสกัดทางด้านผู้ส่ง หรืออาณาเขตสมมติที่ต่อออกไปจากเส้นสกัด และต้องไม่เลยส่วนที่ไกลที่สุดของลำตัวออกไปทางด้านหลัง ยกเว้น แขน ศีรษะ หรือขา 6. เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องส่งลูกให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งลูกนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ 6.1 ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่งลูก แต่ทั้งเขาและผู้ช่วยผู้ตัดสินไม่มั่นใจว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกต้องตามกติกาในโอกาสแรกของแมตช์นั้น จะทำการเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ได้ตัดคะแนน 6.2 สำหรับในครั้งต่อไปในแมตช์เดียวกันนั้น หากผู้ส่งเดิมยังคงส่งลูกที่เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ อีก ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน 6.3 หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน 7. ผู้ส่งลูกอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งลูกได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง การรับที่ถูกต้อง 1. เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนฝ่ายตรงข้ามถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไปเพื่อให้ลูกกระทบอีกแดนหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของเน็ตแล้วตกลงในแดนฝ่ายตรงข้าม ลำดับการเล่น 1. ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งลูกอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้ 2. ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้องตีลูกกลับแล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันในการโต้ลูก ลูกซึ่งอยู่ในการเล่น 1. ลูกซึ่งอยู่ในการเล่นนับตั้งแต่ลูกได้หยุดนิ่งก่อนที่จะทำการส่งลูกจนกระทั่ง 1.1 ลูกได้สัมผัสกับสิ่งอื่น ๆ นอกจากพื้นผิวโต๊ะ ส่วนต่าง ๆ ของเน็ต ไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่ หรือมือที่ถือไม้เทเบิลเทนนิสตั้งแต่ข้อมือลงไป 1.2 การตีโต้ซึ่งถูกสั่งให้เป็นลูกที่ให้ส่งใหม่ หรือได้คะแนน ลูกที่ให้ส่งใหม่ 1. การตีโต้ซึ่งถือให้เป็นการส่งใหม่ ต้องมีลักษณะดังนี้ 1.1 ถ้าลูกที่ฝ่ายส่งได้ส่งไปกระทบส่งนต่าง ๆ ของตาข่าย แล้วข้ามไปในแดนของฝ่ายรับโดยถูกต้อง หรือส่งไปกระทบส่วนต่าง ๆ ของเน็ตแล้ว ฝ่ายรับหรือคู่ฝ่ายรับขวางลูกหรือตีลูกก่อนที่ลูกจะตกกระทบแดนของเขาในเส้นสกัด 1.2 ในความเห็นของผู้ตัดสิน ถ้าลูกที่ถูกส่งออกไปแล้ว ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับยังไม่พร้อมที่จะรับ โดยมีข้อแม้ว่า ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับไม่พยายามจะตีลูก 1.3 ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากมีเหตุรบกวนนอกเหนือการควบคุมของผู้เล่น จนทำให้การส่ง การรับ หรือการเล่นนั้นเสียไป 1.4 ถ้าการเล่นถูกยุติโดยผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2. การเล่นอาจถูกยุติลงในกรณีต่อไปนี้ 2.1 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในลำดับการส่งลูก การรับลูก หรือการเปลี่ยนแดน 2.2 เมื่อการแข่งขันได้ถูกกำหนดให้ใช้ระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา 2.3 เพื่อเตือนหรือลงโทษผู้เล่น 2.4 ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากเห็นว่าสภาพการเล่นถูกรบกวนอันจะเป็นผลต่อการเล่น ได้คะแนน 1. เว้นแต่การตีโต้ให้ส่งใหม่ ผู้เล่นจะต้องเสียคะแนนในกรณีดังนี้ 1.1 ถ้าผู้เล่นไม่สามารถส่งลูกได้ถูกต้อง 1.2 ถ้าผู้เล่นไม่สามารถรับลูกได้ถูกต้อง 1.3 ถ้าผู้เล่นขวางลูก 1.4 ถ้าผู้เล่นตีลูก 2 ครั้งติดต่อกัน 1.5 ถ้าลูกเทเบิลเทนนิสสัมผัสถูกแดนของเขาแล้วตกกระทบพื้นผิวโต๊ะอีก ยกเว้นการส่งลูก 1.6 ถ้าผู้เล่นตีลูกเทเบิลเทนนิสด้วยหน้าไม้ที่ไม่ถูกต้อง 1.7 ถ้าผู้เล่นหรือสิ่งใดก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่ในขณะที่ลูกยังอยู่ในการเล่น 1.8 ถ้ามืออิสระของผู้เล่นสัมผัสพื้นผิวโต๊ะในขณะที่ลูกยังอยู่ในการเล่น 1.9 ถ้าผู้เล่นหรือสิ่งใดก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่ในขณะที่ลูกยังอยู่ในการเล่น 1.10 ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นตีลูกผิดลำดับ ยกเว้นในการส่งหรือรับลูก 1.11 เมื่อใช้ระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกไปแล้ว ผู้รับหรือคู่ของผู้รับสามารถตีโต้กลับมาโดยถูกต้องครบ 13 ครั้ง 1.12 ถ้าผู้ตัดสินลงโทษตัดคะแนนของผู้เล่น เกมการแข่งขัน ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 21 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ เว้นเสียแต่ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 20 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ แมตช์การแข่งขัน 1. ในหนึ่งแมตช์ประกอบด้วยผู้ชนะ 2 ใน 3 เกม หรือ 3 ใน 5 เกม 2. การแข่งขันจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายขอสิทธิ์ในการหยุดพักระหว่างจบเกม ซึ่งการพักจะพักได้ไม่เกิน 2 นาที ลำดับการส่ง รับ และแดน 1. สิทธิ์ในการเลือกก่อน จะใช้วิธีเสี่ยงทายโดยผู้ชนะในการเสี่ยงจะเลือกส่ง เลือกรับ หรือเลือกแดนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสละสิทธิ์ให้ผู้แพ้ในการเสี่ยงเป็นฝ่ายเลือกก่อน 2. เมื่อผู้เล่นหรือคู่ของผู้เล่นได้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้เล่นหรือคู่เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายเลือกบ้าง 3. เมื่อฝ่ายส่งได้ส่งลูกครบ 5 ครั้ง ฝ่ายรับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง จากนั้นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันส่งลูกฝ่ายละ 5 ครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน หรือทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 20 คะแนนเท่ากัน หรือเมื่อนำระบบการแข่งขันเร่งเวลามาใช้การส่งจะผลัดกันส่งฝ่ายละ 1 ครั้ง 4. ในประเภทคู่ ฝ่ายซึ่งมีสิทธิ์ในการส่งลูกก่อน จะต้องเลือกว่าใครจะเป็นผู้ส่งก่อนในเกมแรก และฝ่ายรับจะเป็นฝ่ายผู้รับ สำหรับในเกมถัดไปของแมตช์นั้นฝ่ายส่งจะเป็นผู้เลือกส่ง โดยฝ่ายรับจะเลือกผู้ที่จะเป็นผู้รับ สำหรับในเกมถัดไปของแมตช์นั้นฝ่ายส่งจะเป็นผู้เลือกส่ง โดยฝ่ายรับจะมีผู้รับก็คือผู้ที่ส่งให้เขาในเกมก่อนหน้านั้นเอง 5. ในประเภทคู่ ลำดับการเปลี่ยนส่งคือ เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 5 ครั้ง แล้ว ผู้รับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง โดยส่งให้กับคู่ของผู้ที่ส่งลูกให้เขา 6. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมแรกจะเป็นฝ่ายรับลูกก่อนในเกมต่อไปสลับกันจนจบแมตช์ และในการแข่งขันเกมสุดท้าย ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 10 คะแนน การผิดลำดับในการส่ง การรับ และแดน 1. ถ้าผู้เล่นส่งหรือรับลูกผิดลำดับ กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ได้ค้นพบข้อผิดพลาดและจะทำการเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นและผู้รับที่ควรจะเป็นผู้ส่งและผู้รับตามลำดับที่ได้จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมตช์นั้นต่อจากคะแนนที่ทำได้ สำหรับในประเภทคู่หากไม่สามารถทราบถึงผู้ส่งและผู้รับที่ถูกต้อง ลำดับในการส่งจะถูกจัดให้ถูกต้อง โดยคู่ที่มีสิทธิ์ส่งในครั้งแรกของเกมที่ค้นพบข้อผิดพลาดนั้น 2. ถ้าผู้เล่นไม่ได้เปลี่ยนแดนกันเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนแดน กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ทราบ และจะเริ่มเล่นใหม่โดยเปลี่ยนแดนกันให้ถูกต้องตามลำดับที่จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมตช์นั้นต่อจากคะแนนที่ทำได้ 3. กรณีใด ๆ ก็ตาม คะแนนทั้งหมดซึ่งทำไว้ได้ก่อนที่จะค้นพบข้อผิดพลาดให้ถือว่าใช้ได้ ระบบการแข่งขันเร่งเวลา 1. ระบบการแข่งขันเร่งเวลาจะถูกนำมาใช้ถ้าเกมการแข่งขันในเกมนั้นไม่เสร็จสิ้นภายในเวลา 15 นาที ยกเว้นในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีคะแนนไม่น้อยกว่า 19 คะแนน จะแข่งขันตามระบบเดิมหรือก่อนครบกำหนดเวลาก็ได้ ถ้าผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายต้องการ 1.1 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดีการเล่นนั้นจะถูกยุติลงโดยกรรมการผู้ตัดสิน และจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูกโดยผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งลูกอยู่ก่อนที่การตีโต้นั้นถูกยุติลง 1.2 ถ้าลูกไม่ได้อยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูกโดยผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกอยู่ก่อนที่เวลานั้นจะสิ้นสุดลง 2. หลังจากนั้นผู้เล่นแต่ละคนจะเปลี่ยนกันส่งลูกคนละครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน และในการตีโต้ หากผู้รับหรือฝ่ายรับสามารถตีโต้กลับมาอย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง ฝ่ายส่งจะเสีย 1 คะแนน 3. เมื่อระเบียบการแข่งขันเร่งเวลานำมาใช้ในเกมใดแล้ว เกมที่เหลือของแมตช์นั้น ๆ ให้ใช้ปฏิบัติต่อไปจนกระทั่งจบแมตช์นั้น เครื่องแต่งกาย 1. เสื้อผ้าที่ใช้แข่งขันปกติจะประกอบไปด้วยเสื้อแขนสั้น กางเกง ขาสั้นหรือกระโปรง ถุงเท้า และรองเท้าแข่งขัน ส่วนเสื้อผ้าชนิดอื่น ๆ เช่น บางส่วนหรือทั้งหมดของชุดวอร์ม จะไม่อนุญาตให้ใส่ในระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาด สำหรับในการแข่งขันของสมาคมฯ ให้ผู้เข้าแข่งขันสอดชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรงทุกครั้ง และเสื้อแข่งขันจะต้องเป็นเสื้อมีปกเท่านั้น 2. เสื้อแข่งขัน กางเกง หรือกระโปรง สีพื้นส่วนใหญ่จะเป็นสีอะไรก็ได้แต่จะต้องเป็นสีที่แตกต่างกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้แข่งขันอย่างชัดเจน ยกเว้นในส่วนของปก แขนเสื้อ ลายเสื้อ หรือใกล้กับขอบของเสื้อผ้าอาจเป็นสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้แข่งขันได้ 3. บนเสื้อผ้าแข่งขันอาจมีเครื่องหมายใด ๆ ได้ดังนี้ 3.1 เครื่องหมายหรือตัวอักษรที่แสดงสังกัดสโมสรด้านหน้าของเสื้อแข่งขันบรรจุในพื้นที่ได้ไม่เกิน 64 ตารางเซนติเมตร 3.2 ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน อาจมีหมายเลขหรือตัวอักษรแสดงสังกัด หรือแสดงถึงแมตช์การแข่งขัน 3.3 เสื้อผ้าอาจสามารถโฆษณาในขนาดที่กำหนดไว้ 3.4 เสื้อผ้าอาจมีสัญลักษณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมฯหรือสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ 4. หมายเลขประจำตัวของผู้เล่นที่ติดบนหลังเสื้อจะต้องอยู่เหนือโฆษณาและจะต้องอยู่ตรงกลางของด้านหลังของเสื้อ โดยมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 600 ตารางเซนติเมตร 5. การทำเครื่องหมายหรือการเดินเส้นใด ๆ บนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อผ้าหรือวัสดุใด ๆ เช่น เครื่องประดับที่สวมใส่จะต้องไม่จับตาหรือสะท้อนแสงไปยังสายตาของฝ่ายตรงข้าม 6. รูปแบบของเสื้อผ้าหรือตัวอักษร หรือการออกแบบใด ๆ จะต้องเป็นรูปแบบที่เรียบร้อยไม่ทำให้เกมนั้นเสื่อมเสีย 7. สำหรับปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของชุดแข่งขันให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ชี้ขาด 8. ในการแข่งขันประเภททีมและในการแข่งขันประเภทคู่ นักกีฬาที่มาจากสังกัดเดียวกันจะต้องแต่งกายให้มีสีและรูปแบบที่เหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ยกเว้นถุงเท้าและรองเท้า 9. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแต่งกายด้วยสีที่แตกต่างกันเพื่อง่ายต่อการสังเกตของผู้ชม 10. หากผู้เล่นหรือทีมไม่สามารถตกลงกันได้ในกรณีชุดแข่งขันที่เหมือนกันจะใช้วิธีจับสลาก สภาพของสนามแข่งขัน 1. มาตรฐานของพื้นที่การแข่งขันจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร กว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร สำหรับการแข่งขันระดับภายในประเทศ พื้นที่การแข่งขันจะอนุโลมให้มีความยาวได้ไม่น้อยกว่า 10.80 เมตร กว้างไม่นอ้ยกว่า 5.40 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร 2. พื้นที่การแข่งขันจะถูกล้อมไว้โดยรอบ ซึ่งที่ปิดล้อมหรือแผงกั้นจะมีขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร แยกพื้นที่การแข่งขันออกจากผู้ชม และสำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติที่ปิดล้อม หรือแผงกั้นที่ปิดรอบสนามแข่งขันจะต้องเป็นสีเดียวกันกับฉากหลังซึ่งเป็นสีเข้ม 3. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ความสว่างของแสงเมื่อวัดจากพื้นผิวโต๊ะแล้ว จะต้องมีความเข้มของแสงโดยสม่ำเสมอ และความสว่างในส่วนอื่น ๆ ของพื้นที่สนามแข่งขันจะต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความเข้มของแสงบนพื้นผิวโต๊ะ 4. แหล่งกำเนิดแสงสว่างจะต้องอยู่สูงกว่าพื้นสนามแข่งขันไม่น้อยกว่า 4 เมตร 5. ฉากหลังโดยทั่วไป ๆ ไป จะต้องมืดและไม่มีแสงสว่างจากแหล่งกำเนิดไฟอื่น หรือแสงสว่างจากธรรมชาติผ่านเข้ามาตามช่องหรือทางหน้าต่าง 6. พื้นสนามแข่งขันจะต้องไม่เป็นสีสว่างหรือสะท้อนแสง ในการแข่งขันระดับนานาชาติ พื้นสนามแข่งขันห้ามเป็นอิฐ คอนกรีต หรือหิน

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง จากการศึกษาประวัติยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้ขึ้นมา และไม่ทราบว่าต้นกำเนิดนั้นมาจากประเทศใด เพราะมี หลายประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และแอฟริกาใต้ ก็อ้างว่ามาจากประเทศเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับว่า เริ่มขึ้นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ เพราะมีหลักฐานว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศ อินเดียและแอฟริกาใต้ นำมาเล่นกัน และอีกหลักฐานหนึ่งคือ เคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักอังกฤษในสมัยศตวรรษที่ 12 เนื่องจากเทเบิลเทนนิส เป็นกีฬาที่มี กฎเกณฑ์น้อย ใช้อุปกรณ์ที่หาง่าย ราคาถูก และเล่นง่ายจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากคนทุกระดับ ในประเทศอังกฤษสมัย พระเจ้ายอร์จที่ 6 ถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโต๊ะเทเบิลเทนนิสขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัด กีฬาเทเบิลเทนนิสนี้ไว้ให้พระธิดา (เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ) ได้ทรงเล่นเป็นที่สนุกสนานในพระราชวังบัลมอรอล นอกจากนี้ พระเจ้าซาร์แห่งเปอร์เซียบัณฑิตเนรูห์แห่งอินเดียและกษัตริย์ฟาร์คแห่งอิยิปต์ในอดีตต่างก็ทรงส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิส กันทั้งสิ้น จากหนังสือประวัติกีฬาของ Frank Menke ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกำเนิดของเทเบิลเทนนิสไว้ 2 ประการ คือ 1. อาจเป็นกีฬาในร่มของเทนนิสซึ่งได้เริ่มเล่นเป็นครั้งแรกในมลรัฐแมสซาชูเซ็ต ประมาณปี ค.ศ. 1890 2. สันนิษฐานว่านายทหารชาวอังกฤษซึ่งไปประจำอยู่ที่ประเทศอินเดียได้เคยเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬากลางแจ้งมาก่อน และอีก ความเห็นหนึ่งคือ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในประเทศจีน ชาติที่นักตีเทเบิลเทนนิสต่างก็มุ่งหวัง ที่จะครอบครองกันในทุกวันนี้ ปัจจุบันอังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งแชมป์เปี้ยนในกีฬาประเภทนี้ดังเช่นในอดีต ประเทศที่มีชื่อเสียงได้แก่ อเมริกา เช็คโกสโลวาเกีย ฮังการี (ได้เป็นแชมป์เปี้ยนกีฬาโลกหลายสมัย สามารถ คว้าตำแหน่งแชมป์เปี้ยนโลกไว้ได้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2469-2496) ต่อมาเมื่อกีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลาย เข้าสู่ทวีปเอเชีย นักกีฬาเทเบิลเทนนิสจากเอเชีย ก็ได้พัฒนาวิธีการเล่น เช่น ประเทศญี่ปุ่นได้ครองแชมป์เปี้ยนโลก ในกีฬาประเภทนี้ ถึง 5 สมัย จากการแข่งขันแชมป์เปี้ยนโลกครั้งที่ 21-25 แต่ภายหลังจากนั้นเมื่อประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความสนใจและสนับสนุนกีฬาประเภทนี้อย่างจริงจัง จีนสามารถครองแชมป์เปี้ยนโลกได้ ในเวลาต่อมา เช่น ปี พ.ศ. 2524 สามารถคว้าแชมป์เปี้ยนโลกเทเบิลเทนนิสได้ถึง 7 ตำแหน่ง และในปี พ.ศ. 2526 ก็ได้รับตำแหน่งนี้อีกครั้งถึง 6 ตำแหน่ง สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักคุ้นเคยและเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แต่รู้จักกันในชื่อกีฬาปิงปอง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มนำเข้ามาเล่นกันตั้งแต่เมื่อใด และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น โดยถูกต้องตามกฏหมายและมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ หรือการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทาน แห่งประเทศไทย เป็นต้นมา

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติและประโยชน์เทเบิลเทนนิส

ประวัติและประโยชน์เทเบิลเทนนิส ประวัติเทเบิลเทนนิส เทเบิลเทนนิสหรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่า “ ปิงปอง ” นั้นเองซึ่งมีรากฐานมาจากกีฬาเทนนิส แต่ไม่ มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเทศใดในสี่ประเทศคือ อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และ อัฟริกาใต้ เป็นประเทศต้นกำเนิดกีฬา เทเบิลเทนนิส จากหนังสือประวัติกีฬา Frank Menke ได้สันนิษฐานว่าเกี่ยวกับกำเนิดของเทเบิลเทนนิสไว้ 2 ประการ คือ 1. กีฬาในร่มของเทนนิส เริ่มเล่นครั้งแรกในรัฐแมสซาชูเซตส์ 2. สันนิษฐานว่านายทหารชาวอังกฤษซึ่งไปประจำอยู่ที่อินเดียได้เคยเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬา กลางแจ้งมาก่อน ดังนั้นพอสรุปได้ว่าชาวอังกฤษได้เล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาในร่มแทนเทนนิสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 ปี ค.ศ. 1890 ในประเทศอังกฤษมีการโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิสมาแล้วการเล่น ในสมัยนั้นใช้ไม้ธรรมดาตีกับลูกซึ่งทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง และมักจะหุ้มด้วยผ้าเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย แล้วใช้ไม้ กระดานเป็นเน็ต ปี ค.ศ. 1900 เจมส์ กิบบ์ ( Mr. James Gibb ) ชาวอเมริกันได้มีการพัฒนาการเล่นเทเบิลเทนนิส ได้นำลูกเทเบิลเทนนิสที่ทำจากเซลลูลอยด์มาใช้ในประเทศอังกฤษแทนลูกไมก๊อกหรือยางแข็ง จากการใช้ลูกเซลลู ลอยด์ ซึ่งภายในมีลักษณะกลวง เมื่อลูกเซลลูลอยด์มากระทบไม้ตีจะเกิดเสียง “ ปิง ” และเมื่อลูกเซลลูลอยด์ไป กระทบกับพื้นโต๊ะเกิดเสียง “ ปอง ” เพราะเหตุนี้เองจึงได้ตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า “ ปิงปอง ” ปี ค.ศ. 1902 อี. ซี. กูด ( Mr. E.C. Good ) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้เทเบิลเทนนิสที่หุ้มด้วย ยาง ซึ่งทำให้การตีมีประสิทธิภาพกว่าไม้ธรรมดา สามารถบังคับลูกได้ดีกว่า กีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมของบุคคล ทั่วไปในหลายประเทศเนื่องจากเล่นง่าย อุปกรณ์หาง่ายราคาถูก และเกิดความสนุกสนานน่าดู ประเทศที่ส่งเสริม กีฬานี้ได้พยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น อเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นลูกเซลลูลอยด์ขึ้นมา ฮังการี คิดค้นการ เสิร์ฟลูกแบบกระดอน อังกฤษ ผู้ซึ่งคิดค้นไม้หุ้มยางออกมาใช้ เยอรมันนี เป็นที่ส่งเสริมการจัดการแข่งขัน และ ปรับปรุงกฎกติกาการเล่นต่างๆ ญี่ปุ่นและจีนได้พัฒนาการจับไม้แบบธรรมดา มาเป็นการจับไม้แบบจับปากกาหรือ ที่เรียกว่า “ไม้จีน ” ปี ค.ศ.1921 สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษ แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมเทเบิล เทนนิสแห่งประเทศอังกฤษ ต่อมาประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มมีการก่อตั้งสมาคมของประเทศตนขึ้นตามลำดับ และได้มี การจัดการแข่งขันเทเบลเทนนิส โดย ไอเวอร์ มอนทาเจอร์ ( Iver Monthagor ) บุตรชายของคุณหญิง สเวย์ธลิง ( Sweyling ) ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจเข้า ร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก ระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ก็เริ่มมีขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ ไอเวอร์ มอนทาเจอร์ ( Iver Monthagor ) ในการนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สเวย์ลิ่ง คัพ" โดยตั้งตามชื่อของมารดา ซึ่งได้กลายเป็นรางวัลนานาชาติที่นักปิงปองใฝ่ฝันที่สุด ปี ค.ศ.1926 ได้จัดตั้งสภากรรมการเทเบิลเทนนิสของโลกก่อตั้งขึ้น โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ใน ประเทศอังกฤษ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ( International Table Tennis Federation ) โดยมีอักษรย่อว่า I.T.T.F. ซึ่งก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1939 ประกอบด้วยชาติต่างๆ มากกว่า 30 ชาติ ประวัติกีฬาเทเบลิ เทนนิสในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทย คนไทยรู้จักคุ้นเคยและเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสกันมานานแล้ว แต่โดยทั่วไป มักรู้จักกันในชื่อว่า “ ปิงปอง ” มากกว่าชื่อเทเบิลเทนนิส อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำเข้า มาและเริ่มเล่นกันครั้งแรกเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงมีการเล่นแข่งขันตลอดจนมีการเรียนการสอนเทเบิลเทนนิสกัน ในประเทศ ไทยมาไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง สมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น และได้จัดให้มีการแข่งขันเทเบิลเทนนิสกันอย่างกว้างขวางแพร่หลายมากขึ้นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แม้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสจะเป็นกีฬาเล็ก ๆ แต่บทบาทและความสำคัญของกีฬาเทเบิลเทนนิสมิได้ด้อยไปกว่ากีฬาใหญ่ ๆ เลย ดังจะเห็นได้ว่าในระยะปลายปี พ.ศ. 2515 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเทเบิลเทนนิสไปทำการแข่งขัน เพื่อ สร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับนักกีฬาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้นมา ทำให้ประเทศไทยและ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการติดต่อกันเช่นดังเดิมได้อีก นับว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีบทบาทสำคัญต่อ ประเทศไทยมาก ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาเทเบิลเทนนิส การเล่นเทเบิลเทนนิสก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าแก่ผู้เล่นมากมายหลายประการด้วยกันซึ่งพอจะ จำแนกประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากการเล่นเทเบิลเทนนิสออกได้เป็น 4 ด้าน คือ 1. ประโยชน์และคุณค่าทางด้านร่างกาย ได้แก่ 1.1 ทำให้ร่างกายแข็งแรงพอเหมาะ เพราะเป็นกีฬาที่เล่นง่าย เล่นก็ไม่หนักและไม่เบา เกินไปมีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมในการสร้างความแข็งแรงขั้นพื้นฐาน 1.2 ทำให้ร่างกายมีความว่องไว ปราดเปรียว เพราะเป็นกีฬาที่มีการเล่นที่รวดเร็วว่องไว 1.3 ช่วยฝึกหัดใช้สายตาให้ว่องไวมองเห็นการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว 1.4 ช่วยฝึกหัดการใช้แขน ขา ลำตัว และส่วนอื่น ๆ ของร่างกายให้สัมพันธ์กันได้ดียิ่งขึ้น 1.5 ทำให้ร่างกายมีรูปร่างได้สัดส่วนพอเหมาะ เพราะเป็นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทุกส่วน และไม่หักโหม 2. ประโยชน์และคุณค่าทางด้านจิตใจ และอารมณ์ ได้แก่ 2.1 ทำให้มีความสนุกสนานร่าเริง เพราะการเล่นเทเบิลเทนนิส เป็นการเล่นที่เร้าใจตลอด 2.2 ทำจิตใจแจ่มใส สดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพราะเป็นกีฬาที่เคลื่อนไหวและกระตือรือร้น 2.3 ช่วยให้เกิดสมาธิในการปฏิบัติงาน เพราะการเล่นต้องมีความมั่นคงของอารมณ์ และ จิตใจไม่วอกแวก เช่น การเสิร์ฟลูก 2.4 ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลอื่น มีจิตใจหนักแน่นและไม่เกิดอารมณ์เสียได้ง่าย 3. ประโยชน์และคุณค่าทางด้านสังคม ได้แก่ 3.1 ทำให้รู้จักเพื่อนมากขึ้น โดยใช้เทเบิลเทนนิสเป็นสื่อ 3.2 ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 3.3 ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างวัย เพราะเป็นกีฬาที่เล่นได้ทุกเพศและวัย 3.4 ช่วยสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง สถาบัน และสังคม 4. ประโยชน์และคุณค่าทางด้านสังคม ได้แก่ 4.1 ช่วยลดค่าใช้จ่าย เป็นการประหยัด เพราะเป็นกีฬาที่เล่นได้ง่าย อุปกรณ์การเล่นราคาถูก 4.2 สะดวกในการเล่น และจัดการแข่งขัน ทำให้ได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่เล่น และการจัดแข่งขันมากมายเช่นกีฬาประเภทอื่น

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส เท่า ที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน วิธี การเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง ใน ปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่า มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) อย่างแท้จริง เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK) และการรับ (DEFENDIVE) ทั้งด้าน FOREHAND และ BACKHAND การ จับไม้ก็คงการจับแบบ SHAKEHAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” ไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย DR. GEORG LEHMANN แห่งประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ โดยมีนายอีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี ค.ศ. 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ 2. ไม้ต้องติดยางเม็ด 3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ 1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง 2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น ศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความ รอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง 7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959 สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง ในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ในปี 1961 ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและ รับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับการศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้ บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของ ชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่ ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบ รับได้ฝังรากในยุโรป จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่ มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยน วิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของ ยุโรป เป็นอย่างมาก และแล้วในปี 1970 จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉาย แสงเก่งขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขัน เทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า ในปี 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิส ชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง 18 ปี ในปี 1973 ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่น ที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญในขณะที่ นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI – SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่า เป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก มีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่าง ไม่มีที่วันสิ้นสุด และขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก

ประวัติเทเบิลเทนนิส

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง จากการศึกษาประวัติยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้ขึ้นมา และไม่ทราบว่าต้นกำเนิดนั้นมาจากประเทศใด เพราะมี หลายประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และแอฟริกาใต้ ก็อ้างว่ามาจากประเทศเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับว่า เริ่มขึ้นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ เพราะมีหลักฐานว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศ อินเดียและแอฟริกาใต้ นำมาเล่นกัน และอีกหลักฐานหนึ่งคือ เคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักอังกฤษในสมัยศตวรรษที่ 12 เนื่องจากเทเบิลเทนนิส เป็นกีฬาที่มี กฎเกณฑ์น้อย ใช้อุปกรณ์ที่หาง่าย ราคาถูก และเล่นง่ายจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากคนทุกระดับ ในประเทศอังกฤษสมัย พระเจ้ายอร์จที่ 6 ถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโต๊ะเทเบิลเทนนิสขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัด กีฬาเทเบิลเทนนิสนี้ไว้ให้พระธิดา (เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ) ได้ทรงเล่นเป็นที่สนุกสนานในพระราชวังบัลมอรอล นอกจากนี้ พระเจ้าซาร์แห่งเปอร์เซียบัณฑิตเนรูห์แห่งอินเดียและกษัตริย์ฟาร์คแห่งอิยิปต์ในอดีตต่างก็ทรงส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิส กันทั้งสิ้น จากหนังสือประวัติกีฬาของ Frank Menke ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกำเนิดของเทเบิลเทนนิสไว้ 2 ประการ คือ 1. อาจเป็นกีฬาในร่มของเทนนิสซึ่งได้เริ่มเล่นเป็นครั้งแรกในมลรัฐแมสซาชูเซ็ต ประมาณปี ค.ศ. 1890 2. สันนิษฐานว่านายทหารชาวอังกฤษซึ่งไปประจำอยู่ที่ประเทศอินเดียได้เคยเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬากลางแจ้งมาก่อน และอีก ความเห็นหนึ่งคือ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในประเทศจีน ชาติที่นักตีเทเบิลเทนนิสต่างก็มุ่งหวัง ที่จะครอบครองกันในทุกวันนี้ ปัจจุบันอังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งแชมป์เปี้ยนในกีฬาประเภทนี้ดังเช่นในอดีต ประเทศที่มีชื่อเสียงได้แก่ อเมริกา เช็คโกสโลวาเกีย ฮังการี (ได้เป็นแชมป์เปี้ยนกีฬาโลกหลายสมัย สามารถ คว้าตำแหน่งแชมป์เปี้ยนโลกไว้ได้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2469-2496) ต่อมาเมื่อกีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลาย เข้าสู่ทวีปเอเชีย นักกีฬาเทเบิลเทนนิสจากเอเชีย ก็ได้พัฒนาวิธีการเล่น เช่น ประเทศญี่ปุ่นได้ครองแชมป์เปี้ยนโลก ในกีฬาประเภทนี้ ถึง 5 สมัย จากการแข่งขันแชมป์เปี้ยนโลกครั้งที่ 21-25 แต่ภายหลังจากนั้นเมื่อประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความสนใจและสนับสนุนกีฬาประเภทนี้อย่างจริงจัง จีนสามารถครองแชมป์เปี้ยนโลกได้ ในเวลาต่อมา เช่น ปี พ.ศ. 2524 สามารถคว้าแชมป์เปี้ยนโลกเทเบิลเทนนิสได้ถึง 7 ตำแหน่ง และในปี พ.ศ. 2526 ก็ได้รับตำแหน่งนี้อีกครั้งถึง 6 ตำแหน่ง สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักคุ้นเคยและเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แต่รู้จักกันในชื่อกีฬาปิงปอง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มนำเข้ามาเล่นกันตั้งแต่เมื่อใด และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น โดยถูกต้องตามกฏหมายและมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ หรือการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทาน แห่งประเทศไทย เป็นต้นมา

เทเบิลเทนนิส

เทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง[1] เป็นกีฬาโดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คน ซึ่งยืนเล่นกันคนละด้านของโต๊ะปิงปอง โดยตีลูกโต้กันให้ข้ามตาข่ายเน็ตกั้นกลางโต๊ะปิงปองไปมา ผู้เล่นมีสิทธิ์ให้ลูกบอลเด้งกระดอนตกพื้นโต๊ะฝั่งตนเองได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น แล้วจึงตีโต้ข้ามฟากให้เด้งกระดอนไปกระทบกับพื้นโต๊ะฝ่ายตรงข้าม ถ้าลูกบอลไม่กระทบกับพื้นโต๊ะของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าเสีย แต่ถ้าเป็นลูกดีฝ่ายตรงข้ามก็จะตีโต้กลับมาฝั่งเรา เทเบิลเทนนิสเป็นเกมที่โต้รับกับอย่างรวดเร็ว ผู้เล่นที่มีฝีมือสามารถตีลูกสปินได้ ทำให้บอลนั้นหมุนเร็ว ซึ่งจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ยากยิ่งขึ้น เทเบิลเทนนิสเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออก และเมื่อเทียบกันกับกีฬาชนิดอื่นแล้วปิงปองถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน 乒乓球 (Pīng Pāng Qiú) : ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเก๊า 卓球 (Takkyu) : ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศญี่ปุ่น 탁구 (Tak-gu) : เป็นชื่อของกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศเกาหลี [แก้] ลักษณะโดยทั่วไปของกีฬาเทเบิลเทนนิส โต๊ะมาตรฐาน,พร้อมไม้ตีและลูกบอล.เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาโอลิมปิก โดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คนตีลูกบอลกระทบหน้าไม้หรือหลังไม้ให้ข้ามไปยังอีกฝากหนึ่งของโต๊ะ ซึ่งมันคล้ายกับกีฬาเทนนิส กฎกติกามีความแตกต่างกันบ้าง แต่มองภาพรวมแล้วเทเบิลเทนนิสกับเทนนิสมีลักษณะคล้ายกัน ในเกมเดี่ยว ไม่จำเป็นต้องตีลูกบอลให้ข้ามไขว้จากฝั่งขวามือของผู้ส่งไปยังฝั่งขวามือของผู้รับ(หรือซ้ายมือผู้ส่ง ไปยังซ้ายมือของผู้รับ)เหมือนกับเทนนิส อย่างไรก็ดี การเสิร์ฟไขว้ในลักษณะนั้นจำเป็นต้องมีในเกมเล่นคู่ ลูกสปิน ลูกเร็ว ลูกหยอด ซึ่งกลยุทธ์และเทคนิคการเล่นก็มีความสำคัญสำหรับเกมแข่งขันที่มีการชิงชัยชนะความเร็วของลูกบอลนั้นเริ่มจากการพุ่งด้วยความเร็วต่ำๆ ไปจนถึงการพุ่งด้วยความเร็วสูง ๆ โดยเฉพาะในลูกสปิน ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ที่ 112.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 69.9 ไมล์ต่อชั่วโมง[2] กีฬาเทเบิลเทนนิสมักใช้เนื้อที่ในการเล่นทางยาวประมาณ 2.74 เมตร ทางกว้างประมาณ 1.525 เมตร และสูงจากพื้นราวเอวประมาณ 0.76 เมตร แต่ทางสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล กำหนดไว้ว่าต้องมีเนื้อที่เล่นทางยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร ทางกว้าง 7 เมตร และสูงจากพื้นประมาณ 5 เมตร สำหรับเกมการแข่งขัน ไม้ตีปกติแล้วมีแผ่นยางบางติดอยู่หน้าไม้ ยางมีปุ่มเล็กๆอยู่ด้านหนึ่ง เป็นชั้นบาง ๆอยู่ระหว่างตัวไม้ตีกับผิวหน้าฟองน้ำรองหน้าไม้อีกชั้นหนึ่ง ตั้งแต่การเล่นสปินได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในกีฬาเทเบิลเทนนิสของปัจจุบัน ได้มีการปรับคุณภาพของตัวยาง ฟองน้ำ และวิธีการประกอบยางเข้ากับตัวฟองน้ำ เพื่อเพิ่มความเร็วและอัตรการหมุนของลูกจากปกติ ส่วนเทคนิคการปรับเพิ่มคุณภาพอย่างอื่นได้แก่ การใช้คาร์บอนหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นเข้ามาประกอบกัน เพื่อทำให้เพิ่มความแม่นยำในการตีลูกให้มากขึ้นลูกบอลที่ใช้ในกีฬาเทเบิลเทนนิสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40 มม. มักทำมาจากเซลลูลอยด์และมีด้านในกลวง ๆ ตราสามดาวที่ติดอยู่บนลูกบอล หมายถึง คุณภาพที่ดีเยี่ยมของลูกนั้นเองเมื่อเปรียบเทียบกับลูกอื่น ๆ ผู้ชนะ คือ คนที่ทำแต้มได้ 11 คะแนนก่อน และมีการเปลี่ยนเสิร์ฟลูกในทุกๆ 2 แต้ม หากมีผลการแข่งกันเป็น 10-10 ผู้เล่นจะสลับกันเสิร์ฟ(และผู้เล่นชนะ คือคนที่ทำคะแนนได้ 2 แต้มติดต่อกัน) เกม 11 คะแนน เป็นเกมการแข่งขันที่ได้มีขึ้นจากสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล(ITTF) การเปลี่ยนแปลงนี้ได้มีขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ทุกเกมที่เล่นกันในระดับชาติหรือระดับทัวร์นาเม้นต์สากลมักเป็นเกม 11 คะแนน ส่วนระดับชิงแชมป์เป็นเกม 7 คะแนน และในระดับที่ย่อมลงมาเป็นเกม 5 คะแนน
ประวัติปิงปอง ประวัติกีฬา ปิงปอง เทเบิลเทนนิส (ข้อมูลจากการกีฬาแห่งประเทศไทย) ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเทศใดในสี่ประเทศคือ อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และ อัฟริกาใต้ เป็นประเทศต้นกำเนิดกีฬาเทเบิลเทนนิสกันแน่ เพียงแต่ประเทศอังกฤษได้รับการกล่าวถึงมากกว่าสาม ประเทศข้างต้นผู้ค้นคิดก็ไม่มีการกล่าวถึงว่าเป็นท่านใด เพียงกล่าวว่าเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนัก ในสมัยศตวรรษที่ 12 ซึ่งทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่ประเทศอินเดียและอัฟริกาใต้ก็เคยเล่นมาก่อน ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดาย ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับ ความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐานและตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6 แห่งประเทศอังกฤษทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะเทเบิลเทนนิสขึ้นในพระราชวังบัคกิงแฮมและ ในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดกีฬาชนิดนี้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอล เช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งเปอร์เชีย , บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย , และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ในอดีตก็ล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาชนิดนี้ เทเบิลเทนนิสได้รวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ให้ความคล่องตัวในการเล่น ทำให้เคลื่อนไหวเท้าได้คล่องแคล่ว มีความฉับไวทั้งในการรุก และความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว รวมกันแล้วจึงทำให้เทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมาก นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรมได้เน้นให้ความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้ ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่าหลังจากได้เล่น กีฬาเทเบิลเทนนิสสักเกมส์แล้ว คนงานจะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่นและ ด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาดเทเบิลเทนนิสจึงเป็นกีฬาที่ได้รับการพิจารณา ว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าในการจะช่วยทำให้ระบบประสาทกับกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น เมื่อครั้งสมัยเริ่มเล่นเทเบิลเทนนิสใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นตามห้องรับรองของบ้าน ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรียวัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง ลูกเทเบิลเทนนิสทำจากเส้นได้ ใช้หนังสือวางบนโต๊แทนตาข่าย ไม้ที่ใช้ตีก็ตัดเอาจากกระดาษแข็งหนาๆ จากหนังสือเก่าๆ เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ แนะนำว่า ห้องที่ใช้เล่นควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ไม้เทเบิลเทนนิสซึ่งผลิตขึ้นในขณะนั้น ทำด้วยยางหรือไม้คอร์ค และมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้าเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายกับโต๊ะ และมีคุณสมบัติในการทำให้ลูกเทเบิลเทนนิสหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างๆ กันไปเรื่อยๆ เพื่อยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ด้ามจะยาวคล้ายไม้เทนนิส ส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในกลวงและหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้มีรูปร่างคล้างกลองเล็กๆ ส่วนเกมส์หนึ่งๆ จะจบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้แต้ม 21 แต้มก่อน การนำลูกเทเบิลเทนนิสที่ข้างในกลวงซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์มาใช้นั้นทำให้การเล่นเทเบิลเทนนิสถูก ปฏิวัติไปอย่างสิ้นเชิง ลูกเทเบิลเทนนิสแบบใหม่จะมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วน่าอัศจรรย ์และมีความแม่นยำสูงมาก กล่าวกันว่านักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนหนึ่งชื่อ JAME GIPP หรือที่คนอื่นๆ กล่าวว่าเป็นบาทหลวง ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและบังเอิญพบกับ ลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น และเมื่อกลับอังกฤษจึงนำมาให้กับ กีฬาเทเบิลเทนนิสและพบว่ามีประโยชน์มาก จึงทำให้นักธุรกิจเกี่ยวกับสินค้ากีฬาพากันผลิตออกจำหน่าย การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้ผลักดันกีฬานี้ให้ก้าวหน้าไปมาก การเริ่มแข่งขันอย่างมากมายทางการค้า ทำให้บริษัทฯ ต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตนขึ้นมา ชื่อต่างๆ ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เรียกสินค้าอย่างหรูหรา และมีอยู่บริษัทฯ หนึ่งชื่อ บริษัท ปราเกอร์ บราเธอร์ จำกัด ได้ตั้งชื่อสินค้าของตนเองว่า “ปิงปอง” ซึ่งเกิดจากการเลียนเสียงของกีฬาชนิดนี้ โดยที่เสียง “ปิง” มาจากไม้ปิงปองตีลูก และเสียง “ปอง” มาจากที่ลูกกระทบโต๊ะ ในระหว่างที่ประชาชนนิยมเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นอย่างมากทั้งในอเมริกาและอังกฤษ ความนิยมเริ่มลดน้อยลงจนกระทั่งMR. E.C. OODด้ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งจากการที่เขาได้เกิดอาการปวดหัว และได้ไปซื้อยาในร้านขายยาและได้สังเกตเห็นแผ่นยางซึ่งตอกติดอยู่บนเคาท์เตอร์ ความคิดของเขาในพลันนั้นได้คิดถึงกีฬาเทเบิลเทนนิสว่า หากยางชนิดนี้ใช้ทำเป็นผิวสำหรับตีลูกปิงปองบนไม้ปิงปองคงจะวิเศษทีเดียว มันคงจะทำให้ผู้เล่นควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น เขาจึงลืมอาการปวดหัวโดยที่ไม่รู้ตัว และได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยานั้นไป ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้และติดกาวเข้าด้วยกัน เข้าไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่น้อย เริ่มต้นฝึกหัดและได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความวิเศษของ เครื่องมือที่ได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันระ ดับนานาชาติและสามารถชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษลงได้ จากวันนั้นเป็นต้นมา ประชาชนก็หันกลับมานิยมเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสกันอีก จนกระทั้ง ค.ศ.1904 กีฬาชนิดนี้กลับซบเซาลงอีกครั้ง และไม่ฟื้นตัวขึ้นมาอีกเลยจนกระทั่ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1921สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษและ ยอมใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าปิงปองเนื่องจากกีฬาชนิดนี้มีลักษณะการเล่นที่คล้ายกับกีฬา เทนนิสและมีโต๊ะเป็นส่วนประกอบจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมเทเบิลเทนนิสภายหลัง ไอเวอร์ มอนทาเจอร์ บุตรชายของคุณหญิงสเวย์ธลิง ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจในกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจและเข้าร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขั้นระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก คือระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ตและ เคมบริดจ์ก็เริ่มต้นขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ ไอเวอร์ มอนทาเจอร์ ในการใช้ชื่อมารดาของตนเองตั้งชื่อถ้วยว่า “สเวย์ธลิง คัพ” (คล้ายกับกีฬาเทนนิสที่มีชื่อการแข่งขัน “โธมัส คัพ”) ซึ่งปัจจุบันก็คือการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่นักกีฬาเทเบิลเทนนิสทั่วโลกใฝ่ฝันมากที่สุด สภาเทเบิลเทนนิสของโลกก่อตั้งขึ้นในอังฤษเมื่อปี ค.ศ.1826 ซึ่งเป็นรากฐานของสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาต ิ ( INTERNATIONAL TABLE TENNIS FEDERATION , I.T.T.F.) ซึ่งก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1939 ประกอบด้วยชาติต่างๆ มากกว่า 30 ชาติ โดยมีอังกฤษเป็นผู้นำและปัจจุบันสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาตินี้ได้มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศอังกฤษนี่เอง ข้อมูลจาก... 1. หนังสือคู่มือการฝึกเทเบิลเทนนิส ขั้นพื้นฐาน / งานวิชาการกองการฝึกอบรม สำนักพัฒนาบุคคลากรกีฬา การกีฬาแข่งประเทศไทย 2. อ.ณัฐวุฒิ เรืองเวส 3. อ.นิตย์ ตัณฑะเกยูร ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส (ข้อมูลจากสยามกีฬา) ที่มาของกีฬาเทเบิลเทนนิส (Table tennis) หรือปิงปอง ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ไม่มีประวัติความเป็นมาในสมัยโรมันหรือกรีกเช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่น แม้รัสเซียก็เคยอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นมาก่อนใคร แต่อังกฤษอ้างว่าตนเป็นต้นกำเนิดแล้วก็ไม่มีใครไปคัดค้าน แต่มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาเช่นเดียวกับลอนเทนนิส แต่แหล่งกำเนิดยังเป็นที่สงสัย Frank Monke ได้เขียนแนะนำไว้โดยให้ข้อสันนิษฐานว่ากำเนิดมาจากกีฬา 2 ชนิดคือ 1. กีฬาในร่มของเทนนิส เริ่มเล่นครั้งแรกในรัฐแมสซาชูเซตส์ ราวศตวรรษที่ 19 ( พ.ศ. 2433) 2. สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในอินเดีย โดยทหารอังกฤษได้นำมาเล่นเป็นกีฬากลางแจ้ง การเล่นจะใช้ไม้กระดานเป็นตาข่ายแบ่งแดน บ้างก็ว่ากำเนิดมาจากแอฟริกาใต้ แต่ที่หาหลักฐานได้คือ อังกฤษมีการโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิสชายในหนังสือกีฬาของอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2423 แต่ลูกที่ใช้ในสมัยนั้น ( พ.ศ. 2393) ใช้ลูกบอลทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง ซึ่งแข็งเกินไป จากการศึกษาค้นคว้าการริเริ่มของกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยพิจารณาถึงจุดร่วมกันของเทเบิลเทนนิส เทนนิส และแบดมินตัน จะเห็นได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาของเทนนิสมากกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ หลังศตวรรษที่ 19 เทเบิลเทนนิสเล่นกันในห้อง (ในที่ร่ม) ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ไม้ยางชนิดหนึ่งขึ้นมา จึงเล่นกันกลางแจ้ง แต่ถ้าเมื่อใดอากาศไม่ดีก็กลับมาเล่นในห้องอีก จึงเรียกกันว่า เทเบิลเทนนิสขนาดเล็ก แม้จะมีคนคิดปิงปองขึ้นมาเป็นแบบย่อของกีฬาเทนนิส เมื่อใกล้จะสิ้นศตวรรษที่แล้วก็ตาม แต่ความจริงแล้ว เทเบิลเทนนิสเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักในสมัยศตวรรษที่ 12 เราไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้มาให้เราเล่นจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้แต่ประเทศต้นกำเนิดดั้งเดิมทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอินเดีย และแอฟริกาใต้ ล้วนแต่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่เกิดกีฬาชนิดนี้ แต่ก็มีคนส่วนมากยอมรับว่าปิงปองเริ่มมีครั้งแรกในอังกฤษ เพราะแม้แต่คนที่กล่าวว่าเทเบิลเทนนิสเริ่มเล่นในอินเดียและแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก ยังเห็นพ้องกันว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่นั่นอาจจะมีส่วนนำปิงปองเข้ามายังประเทศทั้งสอง ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุที่มีราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดายทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐาน และตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะปิงปองขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดหากีฬาชนิดนี้ไว้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอลเช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งปอเซีย บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาทั้งนั้น นักกีฬาทุกประเภทได้ยอมรับว่า ปิงปองเป็นทางวิเศษที่จะกำหนดกีฬาเฉพาะตัวของเขา เพราะปิงปองรวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองให้ทั้งความคล่องตัวในการเล่น ทำให้ฟุตเวิร์กดีและมีความฉับไวทั้งในการบุกและความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว รวมกันแล้วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรม ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่า หลังจากได้เล่นเทเบิลเทนนิสสักเกมแล้ว คนงานก็จะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่น และด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาด เทเบิลเทนนิสจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าที่สุดที่จะทำให้สายตาและจิตใจสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น เมื่อเริ่มมีการเล่นใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นในห้องรับแขกในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย วัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง โดยมิได้เตรียมมาก่อน ลูกปิงปองทำจากเส้นด้าย ใช้หนังสือวางบนโต๊ะแทนตาข่าย ไม้ตีก็ตัดจากกระดาษแข็งหนาๆ ซึ่งหนังสือเก่าๆ ที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ได้แนะนำว่าห้องที่ใช้เล่นปิงปองควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดไม่ให้เกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด ในไม่ช้าวงการค้าเริ่มมองเห็นโอกาสที่จะหาผลประโยชน์จากเครื่องเล่นชนิดนี้ และเริ่มต้นผลิตวัสดุในการเล่นที่เหมาะสมกว่าที่เคยทำกันเองในขณะนั้น การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิตก่อให้เกิดการตื่นตัวในกีฬาประเภทนี้อย่างมากมาย บริษัทที่กล่าวกันว่าเป็นบริษัทแรกที่เริ่มพัฒนากีฬาที่เรียกว่า เทเบิลในร่ม คือบริษัท Parker Brothers of Salem แห่งเมืองแมสซาชูเซตส์ เป็นบริษัทอเมริกันที่ผลิตสินค้ากีฬาทุกชนิด และได้ส่งสินค้าเข้าไปขายในอังกฤษ ลูกปิงปองที่ผลิตขึ้นในลักขณะนั้นทำด้วยยางหรือไม้ก๊อก หรือมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายกับโต๊ะ และให้ลูกปิงปองหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างกันออกไปเรื่อยๆ ซึ่งตามความจริงแล้วไม่เคยมีขนาดมาตรฐานเลย มีด้ามยาว และส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในจะกลวง และหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้รูปร่างคล้ายกลองเล็กๆ ตาข่ายที่ใช้จะขึงข้ามโต๊ะระหว่างเก้าอี้ 2 ตัว เกมหนึ่งๆ จบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของผู้เล่นได้แต้ม 21 แต้ม ซึ่งกฎข้อนี้ยังไม่เคยเปลี่ยนจนปัจจุบันนี้ การนำลูกปิงปองที่ข้างในกลวง ซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ (Celluloid) มาใช้ทำให้การเล่นปฏิวัติไปโดยสิ้นเชิง ลูกปิงปองแบบใหม่ให้กำลังในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น่าอัศจรรย์ มีความแม่นยำสูง ส่วนความผิดพลาดมีบ้างเล็กน้อย ต่อมาอังกฤษเริ่มปรับปรุงการเล่นเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรก และมีนักเทเบิลเทนนิสชาวอังกฤษชื่อ Janes Gibb ได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาและบังเอิญได้พบลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น เมื่อเขากลับประเทศอังกฤษจึงนำมาใช้กับเทเบิลเทนนิส และพบว่ามีประโยชน์มาก เมื่อนักธุรกิจได้เห็นจึงยอมรับความสำคัญของมันในทันที และเริ่มผลิตออกจำหน่าย จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้กีฬาประเภทนี้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การแข่งขันอย่างมากมายทางการค้าทำให้บริษัทต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตน และมีการตั้งชื่อเรียกสินค้าอย่างหรูหรา ซึ่งปัจจุบันได้ล้มเลิกไปหมดแล้ว เช่น กอสสิมา วิฟท์เว็ฟท์ และฟลิม-แฟลม การเรียกชื่อ "ปิงปอง" นี้เลียนแบบมาจากเสียงซึ่งเกิดจากไม้ตีที่มีขนาดเล็ก และยาวขึ้นด้วยหนังลูกวัวทั้งสองด้าน เมื่อใช้ไม้ตีลูกเซลลูลอยด์จะมีเสียงดัง "ปิง" และเมื่อลูกตกลงกระทบพื้นจะมีเสียงดัง "ปอง" หลังจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงไม้ตี เสียงที่กระทบพื้นจะเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อกีฬาชนิดนี้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นเทนนิสบนโต๊ะ หรือเทเบิลเทนนิส เมื่อประชาชนเริ่มตื่นเต้นและนิยมเล่นปิงปองกันอย่างมาก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การเล่นทั่วๆ ไป ซึ่งหลักจากนั้นคนก็เริ่มเบื่อกีฬาที่เรียกว่า ปิงปอง วิฟท์ เว็ฟท์ จนไม่มีใครเล่นอีก ต่อมา Mr. E.C. Good แห่งกรุงลอนดอน เป็นผู้ทำให้ปิงปองกลับมาเป็นที่นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขาเปลี่ยนมาสนใจเทเบิลเทนนิสโดยกะทันหัน เพราะเขามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงหาวิธีการที่จะบรรเทาอาการโดยที่ใจยังจดจ่อกับการเล่นปิงปองอยู่ เขาจึงไปซื้อยาที่ร้านขายยาและในขณะที่เขาจ่ายเงินค่ายาได้สังเกตเห็นแผ่นยางที่ตอกติดอยู่บนพื้นเคาน์เตอร์ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้านำยางแผ่นนี้ไปวางบนผิวไม้ตีปิงปองคงจะทำให้ควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น เขาจึงได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยา ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้แล้วก็ติดกาว เขาเริ่มต้นฝึกหัด และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความพิเศษของเครื่องมือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ทำให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษ และตามตำนานก็กล่าวว่าเขาชนะถึง 50 ต่อ 3 เกม จากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครคิดถึงปิงปองอีก Alicetocrant และประชาชนได้นำมาเล่นใหม่ด้วยความตื่นตัว และได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ในกีฬาชนิดนี้นักปิงปองที่มีชื่อหลายคนได้รับประโยชน์จากไม้ตีที่ปฏิวัติใหม่ทำให้ควบคุมลูกได้ง่าย และได้นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้จนทำให้ปิงปองเป็นเกมรวม แล้วมีลักษณะแตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตาม ราวปี พ.ศ. 2447 เทเบิลเทนนิสก็กลับซบเซาลงอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2464 สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษ และยอมใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าปิงปอง ในปีต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสมาคมเทเบิลเทนนิส ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประเทศที่ส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างแท้จริงเพียง 4 ประเทศคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นลูกเซลลูลอยด์ขึ้นมา ประเทศฮังการี คิดค้นการส่งลูกแบบกระดอน ประเทศอังกฤษ ผู้ซึ่งคิดค้นไม้หุ้มยางออกมาใช้ และประเทศเยอรมันนี เป็นที่ส่งเสริมจนเป็นที่ยอมรับในแง่ของการจัดการแข่งขัน และใช้วางกฎกติกาเล่นต่างๆ Iver Monthagor บุตรชายของคุณหญิง Sweyling ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจเข้าร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก ระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มมีขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ Iver Monthagor ในการนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สเวย์ลิ่ง คัพ" โดยตั้งตามชื่อของมารดา (คล้ายกับที่ลอนเทนนิสมี "โธมัสคัพ") ซึ่งได้กลายเป็นรางวัลนานาชาติที่นักปิงปองใฝ่ฝันที่สุด ไม่เป็นที่แปลกประหลาดอะไรเลยในเมื่อปิงปองได้รวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองจึงเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความคล่องแคล้วว่องไวในการเล่น การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี มีความฉับไวในการรุก และความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด ทำให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวและนิยมเล่นปิงปองอย่างกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปิงปองได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรป ปี พ.ศ. 2469 ได้มีการประชุมผู้แทนประเทศต่างๆ ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ หอสมุด Lady Sir Vateting ซึ่งเป็นชื่อมารดาของ Sir Mongtakurr ที่ประชุมได้มีมติผ่านกฎบัตรให้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในระยะแรกการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งโลกจัดให้มีการแข่งขันปีละครั้ง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง กีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลายทั่วไป จึงได้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นโดยให้จัดประชุมสัมมนาขึ้นที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมันตะวันตก ในปี พ.ศ. 2469 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติขึ้น และได้จดทะเบียนตามกฎหมายเลขที่ 1907 ในการประชุมครั้งนั้นที่ประชุมลงมติให้แต่งตั้ง Sir Mongtakurr เป็นประธานสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติคนแรก ซึ่งในขณะนั้นสหพันธ์ฯ มีสมาชิกกว่า 100 ประเทศ โดยดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ถึง 9 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469-2503 Sir Mongtakurr เกิดที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2448 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ก็ได้ปลดเกษียณจากประธานสหพันธ์ฯ แต่ยังดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกร้อยกว่าประเทศจาก 5 ทวีป เทเบิลเทนนิสจึงกลายเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงค่อนข้างจะโด่งดัง ทำให้ผู้คนทั้งหลายเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น ในศตวรรษที่ 20 ได้มีนักศึกษาและนักท่องเที่ยวนำเอากีฬาประเภทนี้เข้าสู่ประเทศออสเตรีย ฮังการี และสหรัฐเมริกา ปี พ.ศ. 2438 ศาสตราจารย์ครุศาสตร์ท่านหนึ่งแห่งโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ได้นำเอาโต๊ะและไม้เทเบิลเทนนิสกลับประเทศญี่ปุ่น ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มแพร่หลายในญี่ปุ่น และได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2462 สมาคมเทเบิลเทนนิสในสหรัฐเมริกา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 การเล่นเทเบิลเทนนิสในระยะแรก พวกที่เล่นเก่งๆ มักจะใช้นิ้วเล่นลูกประกอบการตีคือ ยอมให้ผู้ส่งลูกปั่นลูกกับไม้ได้ในตอนส่งโดยใช้นิ้วช่วย การส่งลูกแบบนี้จะทำให้ลูกหมุนมากจนแทบจะรับไม่ได้ ต่อมาจึงได้มีกติกาห้ามการส่งแบบนี้ ในชั้นแรกเกมการเล่นประกอบด้วยการเล่น 2 แบบคือ การตั้งรับ และการตีลูกโต้ ต่อมามีการตีลูกแบบตัด ดังนั้นเทคนิคคือการตั้งรับและการตีลูกตัด ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ไม้ตีได้มีการทำเป็นยางจุด และทำให้ตีโต้ได้รวดเร็วขึ้น ต่อมาสมัยของ Victor Barnar (แชมป์โลกปี พ.ศ. 2473, 2475, 2476 และ 2477) รูปแบบการเล่นเทนนิสได้ถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์ มีการตอบโต้โดยใช้ลูกหน้ามือและหลังมือด้วยวิธีการจับไม้แบบจับมือ (Shake-Hand grip) ซึ่งเป็นจุดเด่นมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการจับไม้แบบจับปากกา (Penholder grip) ในปี พ.ศ. 2465 คำว่า "ปิงปอง" ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นเครื่องหมายการค้า ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นข้อหนึ่งทำให้มีการเปลี่ยนชื่อกีฬาประเภทนี้มาเป็นเทเบิลเทนนิส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471-2492 เป็นช่วงที่ยุโรปเป็นผู้นำทางด้านเทเบิลเทนนิส โดยได้ตำแหน่งชนะเลิศเกือบทุกประเภททั้งชายและหญิง ในปี พ.ศ. 2483-2490 ได้เกิดสงครามฟาสต์ซิสทำให้การแข่งขันระดับโลกได้หยุดชะงักไประยะหนึ่ง ญี่ปุ่นได้ร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2472 อังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งดั้งเดิมในประเภทนี้เหมือนเมื่อก่อน ประเทศอื่นๆ ได้พัฒนาขึ้นมา และก้าวหน้าไป โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และเชโกสโลวะเกีย แต่ที่สำคัญคือ ฮังการี ซึ่งได้เป็นแชมเปี้ยนโลกหลายสมัย ชาวฮังการีศึกษาและเล่นเกมนี้อย่างจริงจังในเวลาว่าง และได้พัฒนาการเล่นแบบต่างๆ เช่น การรับลูกได้อย่างแน่นอน บางครั้งสามารถรับลูกหลังโต๊ะถึง 25 ฟุต ซึ่งทำให้ชาวฮังกาเรียนเป็นแชมเปี้ยนโลกได้ส่วนใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2480 ชาวอเมริกันจึงได้ชัยชนะทั้งประเภทชายและหญิงในการเดินทางไปแข่งขันที่ประเทศฮังการี ความก้าวหน้าครั้งนี้เป็นเพราะได้รับทักษะจากแชมเปี้ยนส์ชาวฮังกาเรียน ซึ่งเคยแข่งขันท่ามกลางผู้ชมไม่ต่ำกว่า 20,000 คนอยู่เสมอ นอกจากการเล่นประเภทเดี่ยวแล้ว การเล่นประเภทคู่นับได้ว่าเป็นการเล่นที่สนุกสนานที่สุด ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนกันตีและการเล่นจะเป็นไปอย่างรวดเร็วตลอดการแข่งขัน ในปี พ.ศ. 2478 ภายหลังที่สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งมา 2 ปี ได้มีการแข่งขันระดับโลกระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรเลีย ปรากฏว่าต้องใช้เวลานานถึง 20 นาที สำหรับคะแนนเพียงคะแนนเดียว และลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีกลับไปกลับมาถึง 1,590 ครั้ง ปี พ.ศ. 2493-2502 เป็นยุคของญี่ปุ่น โดยสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในโลกด้วยการตีลูกหน้ามือเป็นเกมรุก โดยการใช้ฟุตเวิร์ก ในปี พ.ศ.2495 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 19 ที่บอมเบย์ และในปี พ.ศ. 2496 จีนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงชนะเลิศโลกครั้งที่ 20 ที่เมืองบุชเชอเรสต์ ญี่ปุ่นก็ได้ชัยชนะประเภททีมชายและหญิง ชั้นเชิงการตีลูกของชาวซามูไรทำให้วงการเทเบิลเทนนิสตื่นตัว เพราะญี่ปุ่นใช้วิธีการจับไม้แบบถือพู่กัน หรือ เรียกกันในภายหลังว่า แบบตะวันออก ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตบลูกที่รุนแรง นักตีชาวยุโรปที่จับไม้แบบเชคแฮนด์จึงพ่ายแพ้อย่างราบคาบ ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกปี พ.ศ.2499 ทีมอังกฤษได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งทำให้การเล่นล่าช้าไปครึ่งชั่วโมง โดยร้องเรียนว่าลูกที่ใช้ในการแข่งขันอ่อนไป และยังไม่กลมด้วย เขาเลือกลูกอยู่ 192 ใบจึงได้ลูกที่ถูกใจ และต่อมาก็พ่ายแพ้ในการแข่งขัน เทคนิคการเล่นของยุโรปในการรุกจะใช้ไหล่ ศอก และเอว ในขณะที่ผู้เล่นญี่ปุ่นใช้ทั้งลำตัวในการตี และใช้เทคนิคแบบโต้กลับปะทะการรุก จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นเหนือกว่าชาวยุโรป การรุกแบบผู้เล่นญี่ปุ่นนั้นทำให้ชาวยุโรปกลัว เพราะคล้ายกับการโจมตีแบบกามิกาเซ่ (Kamikaze) การรุกแบบกล้าหาญนี้ ชาวญี่ปุ่นถือว่ากล้าได้กล้าเสีย และเสี่ยง แต่ผู้เล่นญี่ปุ่นก็พยายามรุกและมีฟุตเวิร์กที่คล่องแคล่วอันทำให้สัมฤทธิ์ผลจนได้รับชัยชนะในการแข่งขันประเภททีมถึง 5 ครั้งติดต่อกัน อันเป็นสถิติที่ดีเยี่ยมเท่าที่เคยมีมา โดยมี Ogimara เป็นตัวเล่น ซึ่งเขาชนะถึง 12 ครั้ง รวมถึง Tanaka, Tomida, Murakami, Kimura และทำให้ญี่ปุ่นเป็นแชมเปี้ยนโลกในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2493) ชาวยุโรปแข่งขันกับญี่ปุนโดยใช้วิธีจับไม้แบบจับมือ (Shake-hand grip) และส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายรับ อีกประการหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นครองความเป็นจ้าวปิงปองคือ ญี่ปุ่นได้ใช้วิธีตีลูกแบบ Top-spin ชาวยุโรปซึ่งเป็นฝ่ายรับจึงปราชัยอย่างราบคาบ ปี พ.ศ. 2503 การเล่นของชาวยุโรปก็ยังเป็นแบบเดิม ทำให้เทเบิลเทนนิสของชาวยุโรปตกต่ำลงไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2503 ในปีนี้มีการแข่งขันชิงชนะเลิศที่ญี่ปุ่น ประเทศยูโกสลาเวียและฮังการีก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยแต่ก็แพ้ญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นใช้วิธีตีลูก Top spin และในระยะต่อมาฮังการีก็ได้คิดค้นวิธีตีลูก Back spin ขึ้น จึงทำให้การเล่นเทเบิลเทนนิสพัฒนาขึ้นอย่างมาก สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นจ้าวปิงปอง เพราะ 1. ญี่ปุ่นได้ค้นพบของใหม่ โดยดัดแปลงการตีที่ใช้ฟองน้ำเข้าช่วยและใช้ลูก Top spin 2. ใช้เทคนิคการบุกแบบตบลูกยาว 3. นักกีฬาของชาวญี่ปุ่นมีความมานะอดทนในการฝึกซ้อม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนได้ตำแหน่งชนะเลิศ โดยจีนใช้วิธีบุกเร็วและการยืนตำแหน่งชิดโต๊ะแต่ในระยะหลังนี้ชาวยุโรปได้ฟื้นตัวขึ้นมา เพราะในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกที่เปียงยาง ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2522 ฮังการีได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย หลังจากได้เสียตำแหน่งไป 20 กว่าปี จีนชนะปี พ.ศ. 2503 และใน ปี พ.ศ. 2504 การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกได้เปลี่ยนแปลงจากปีละ 1 ครั้ง มาเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง พ.ศ. 2505 มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นที่กรุงปักกิ่ง นักตีรุ่นหนุ่มของจีนชนะทีมญี่ปุ่นด้วยการรุกแบบสายฟ้าแลบ และรับอย่างฉับไว โดยการจับไม้แบบไม้จีน (Chinese Penholder grip) จีนชนะเลิศประเภททีมชายและชายเดี่ยว 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งจีนได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นทั้งทางภาพยนตร์และจากเอกสาร จึงได้แก้ทางเล่นโดยใช้วิธีเล่นทั้งลูกสั้นและลูกยาวแบบญี่ปุ่นอันเป็นหลักของจีนมาถึงปัจจุบัน เป็นวิธีที่รู้จักกันว่าเป็นการเล่นเทเบิลเทนนิสแบบจีน ซึ่งไม่มีใครเหมือน ต่อมาในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ครั้งที่ 27, 28 พ.ศ. 2506, 2508 จีนก็ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย-หญิง ชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยวในการแข่งขันครั้งที่ 29 และ 30 จีนยักษ์ใหญ่ในวงการเทเบิลเทนนิสก็ไม่ได้เข้าชิงชัย เนื่องจากเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีน จึงทำให้นักตีชาวยุโรปคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะครั้งที่ 30 ซึ่งเยอรมันตะวันตกเป็นเจ้าภาพ รัสเซียได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมหญิง และสวีเดนชนะเลิศประเภทชายคู่ ส่วนญี่ปุ่นได้ตำแหน่งทีมชาย ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และคู่ผสม รวม 4 ตำแหน่ง ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 31 ที่เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2514 จีนได้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง และได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม และประเภททีมชาย ส่วนตำแหน่งชายเดี่ยว ได้แก่ Stellan ;Bengtsson จากสวีเดน ชายคู่ ได้แก่ ฮังการี ประเภททีมหญิง ได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยประเภททีมชายได้อันดับที่ 23 จากประเทศเข้าแข่งขัน 39 ประเทศ ทีมหญิงได้อันดับที่ 22 จาก 27 ประเทศที่ส่งเข้าแข่งขัน การแข่งขันครั้งที่ 31 ที่นาโกย่า นับเป็นการแข่งขันที่มีคนกล่าวขวัญกันมากเป็นประวัติการณ์ เพราะการแข่งขันครังนี้นับว่าเป็นสื่อให้ยักษ์ใหญ่ 2 ฝ่ายในโลกหันหน้าเข้าหากัน เพราะหลังจากการแข่งขันครั้งนี้แล้ว จีนได้เชิญนักปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนปักกิ่ง รวมทั้งทีมจากแคนาดา โคลัมเบีย และไนจีเรีย สหรัฐอเมริกาตกลงรับคำเชิญของจีนทันที ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงได้มีโอกาสเข้าสู่จีนหลังจากจีนได้ปิดประเทศมาถึง 22 ปีเต็ม นักปิงปองจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 15 คน จึงเป็นก