วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

กติกาเทเบิลเทนนิส

กติกาเทเบิลเทนนิส โต๊ะ 1. พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า พื้นผิวโต๊ะ จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร ความกว้าง 1.525 เมตร และจะต้องสูงได้ระดับโดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร 2. พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา 3. พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร 4. พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มและเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นข้าง เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นสกัด 5. พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดนเท่า ๆ กันด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด 6. สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นสีขาวมีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า เส้นกลาง และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย 7. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง ส่วนประกอบของตาข่าย 1. ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบไปด้วย ตาข่าย ที่แขวน และ เสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส 2. ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผู้ติดปลายยอดเสา ซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร และยื่นออกไปจากเส้นข้างของโต๊ะถึงตัวเสาด้านละ 15.25 เซนติเมตร 3. ส่วนบนสหุดของตาข่ายตลอดแนวยาว จะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร 4. ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะและส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 5. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันตะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น ลูกเทเบิลเทนนิส 1. ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกลม และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 38 มิลลิเมตร 2. ลูกเทเบิลเทนนิสจะมีน้ำหนัก 2.5 กรัม 3. ลูกเทบิลเทนนิสจหะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์ หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน โดยให้มีสีขาว สีเหลือง สีส้ม และเป็นสีด้าน 4. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสเท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง ไม้เทเบิลเทนนิส 1. ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบน เรียบ และแข็ง 2. อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ซึ่งทำด้วยวัสดุไฟเบอร์ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาซไฟเบอร์ หรือกระดานอัด จะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 ของควาหมนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า 3. หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ในการตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับ วัสดุนี้จะเป็นยางเม็ดธรรมดาแผ่นเดียวกัน โดยหันเอาเม็ดออกมาด้านนอก และไม่มีฟองน้ำรองรับ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้ว จะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางแผ่นเดียวกันชนิดมีฟองน้ำรองรับโดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ในหรือเอาเม็ดยางอยู่ด้านนอกก็ได้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้ว จะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร 3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดาจะต้องเป็นชิ้นเดียวและไม่มีฟองน้ำรองรับ จะทำด้วยยางหรือยางสังเคราะห์มีเม็ดยางกระจายอยู่สม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ด ต่อ 1 ตารางเซ้นติเมตร และไม่มากกว่า 50 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 3.2 แผ่นยางชนิดมีฟองน้ำ ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร 4. วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมตลอดหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกิดขอบของหน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุด และที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้ามจับ 5. หน้าไม้เทเบิลเทนนิสชั้นภายในหน้าไม้ ชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาวจะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันโดยตลอด 6. หน้าไมเทเบิลเทนนิสจะต้องเป็นสีแดงสว่าง และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ โดยไม่คำนึงว่าหน้าไม้ด้านนั้นจะใช้ตีลูกเทเบิลเทนนิสหรือไม่ และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอ ไม่สะท้อนแสง ตามขอบของไม้เทเบิลเทนนิส จะต้องไม่สะท้อนแสงหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นสีขาว 7. วัสถุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ผลิตยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อ และชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติครั้งหลังสุดเท่านั้น 8. สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบที่เป็นพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส และตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูป หรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น 9. การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้ วัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาด เนื่องจากการเสียหาจากอุบัติเหตุ การใช้งาน หรือสีจาง อาจจะอนุญาตให้ใช้ได้โดยมีเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้หรือผิววัสดุปิดทับ 10. เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นตะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนินที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขันและกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง 11. ผู้เล่นจะต้องวางไม้เทเบิลเทนนิสของเขาบนโต๊ะแข่งขันระหว่างการหยุดพักในการเล่น 12. เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่น ที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสที่ใช้อยู่นั้นถูกต้องตามระเบียบและกติกา 13. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ชี้ขาด คำจำกัดความ 1. ระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น เรียกว่า การตีโต้ 2. การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน เรียกว่า ส่งใหม่ 3. การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน เรียกว่า ได้คะแนน 4. มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส เรียกว่า แร็กเกต แฮนด์ (Racket hand) 5. มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส เรียกว่า มืออิสระ 6. ถ้าผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถือ หรือสัมผัสมือขณะที่ถือไม้ตั้งแต่ข้อมือลงไป เรียกว่า การตีลูก 7. ถ้าผู้เล่นหรือสิ่งใด ๆ ที่เขาสวมใส่หรือถืออยู่ สัมผัสถูกลูกในขณะที่ลูกกำลังอยู่ในการเล่น โดยที่ลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของเขาหลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามตีลูกมาหใ และลูกนั้นยังไม่ผ่านพื้นผิวโต๊ะ หรือลหูกนั้นยังไม่พ้นเส้นสกัด เรียกว่า ขวางลูก (Obstructs) 8. ผู้ตีลูกเทเบิลเทนนิสครั้งแรกในการตีโต้ เรียกว่า ผู้ส่ง 9. ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสครั้งทื่ 2 ในการตีโต้ เรียกว่า ผู้รับ 10. ผู้ตัดสิน คือ บุคคลที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมเกมการแข่งขัน 11. สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถือ หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่ หรือที่กำลังถืออยู่ในขณะที่เริ่มต้นตีโต้ 12. ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านหรืออ้อมตาข่าย ถ้าลูกผ่านตาข่าย ผ่านใต้เสาตาข่าย หรือผ่านด้านนอกเสาตาข่ายที่ยื่นออกไป หรือในกรณีที่ตีลูกแล้วกระดอนถอยหลังข้ามตาข่ายกลับมาด้วยแรงหมุนของมันเอง 13. เส้นสกัด ให้รวมไปถึงเส้นสกัดสมมติที่ต่อออกไปในแนวเดียวกันด้วย การส่งลูก 1. เมื่อเริ่มส่งลูก ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามือของมืออิสระ โดยแบฝ่ามือออกและลูกต้องหยุดนิ่ง โดยลูกนั้นต้องอยู่หลังเส้นสกัดและอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ 2. ในการส่งลูก ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นไปข้างบนด้วยมือให้ใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉากมากที่สุด และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ 3. ผู้ส่งจะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดลงแล้ว เพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ 4. ทั้งลูกเทเบิลเทนนิสและไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือพื้นผิวโต๊ะตลอดเวลาที่เริ่มทำการส่งลูกจนกระทั่งไม่ได้กระทบลูกไปแล้ว 5. ในการส่งลูก ขณะที่ลูกกระทบหน้าไม้ จะต้องอยู่เหนือ เส้นสกัดทางด้านผู้ส่ง หรืออาณาเขตสมมติที่ต่อออกไปจากเส้นสกัด และต้องไม่เลยส่วนที่ไกลที่สุดของลำตัวออกไปทางด้านหลัง ยกเว้น แขน ศีรษะ หรือขา 6. เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องส่งลูกให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งลูกนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ 6.1 ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่งลูก แต่ทั้งเขาและผู้ช่วยผู้ตัดสินไม่มั่นใจว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกต้องตามกติกาในโอกาสแรกของแมตช์นั้น จะทำการเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ได้ตัดคะแนน 6.2 สำหรับในครั้งต่อไปในแมตช์เดียวกันนั้น หากผู้ส่งเดิมยังคงส่งลูกที่เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ อีก ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน 6.3 หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน 7. ผู้ส่งลูกอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งลูกได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง การรับที่ถูกต้อง 1. เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนฝ่ายตรงข้ามถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไปเพื่อให้ลูกกระทบอีกแดนหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของเน็ตแล้วตกลงในแดนฝ่ายตรงข้าม ลำดับการเล่น 1. ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งลูกอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้ 2. ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้องตีลูกกลับแล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันในการโต้ลูก ลูกซึ่งอยู่ในการเล่น 1. ลูกซึ่งอยู่ในการเล่นนับตั้งแต่ลูกได้หยุดนิ่งก่อนที่จะทำการส่งลูกจนกระทั่ง 1.1 ลูกได้สัมผัสกับสิ่งอื่น ๆ นอกจากพื้นผิวโต๊ะ ส่วนต่าง ๆ ของเน็ต ไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่ หรือมือที่ถือไม้เทเบิลเทนนิสตั้งแต่ข้อมือลงไป 1.2 การตีโต้ซึ่งถูกสั่งให้เป็นลูกที่ให้ส่งใหม่ หรือได้คะแนน ลูกที่ให้ส่งใหม่ 1. การตีโต้ซึ่งถือให้เป็นการส่งใหม่ ต้องมีลักษณะดังนี้ 1.1 ถ้าลูกที่ฝ่ายส่งได้ส่งไปกระทบส่งนต่าง ๆ ของตาข่าย แล้วข้ามไปในแดนของฝ่ายรับโดยถูกต้อง หรือส่งไปกระทบส่วนต่าง ๆ ของเน็ตแล้ว ฝ่ายรับหรือคู่ฝ่ายรับขวางลูกหรือตีลูกก่อนที่ลูกจะตกกระทบแดนของเขาในเส้นสกัด 1.2 ในความเห็นของผู้ตัดสิน ถ้าลูกที่ถูกส่งออกไปแล้ว ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับยังไม่พร้อมที่จะรับ โดยมีข้อแม้ว่า ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับไม่พยายามจะตีลูก 1.3 ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากมีเหตุรบกวนนอกเหนือการควบคุมของผู้เล่น จนทำให้การส่ง การรับ หรือการเล่นนั้นเสียไป 1.4 ถ้าการเล่นถูกยุติโดยผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2. การเล่นอาจถูกยุติลงในกรณีต่อไปนี้ 2.1 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในลำดับการส่งลูก การรับลูก หรือการเปลี่ยนแดน 2.2 เมื่อการแข่งขันได้ถูกกำหนดให้ใช้ระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา 2.3 เพื่อเตือนหรือลงโทษผู้เล่น 2.4 ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากเห็นว่าสภาพการเล่นถูกรบกวนอันจะเป็นผลต่อการเล่น ได้คะแนน 1. เว้นแต่การตีโต้ให้ส่งใหม่ ผู้เล่นจะต้องเสียคะแนนในกรณีดังนี้ 1.1 ถ้าผู้เล่นไม่สามารถส่งลูกได้ถูกต้อง 1.2 ถ้าผู้เล่นไม่สามารถรับลูกได้ถูกต้อง 1.3 ถ้าผู้เล่นขวางลูก 1.4 ถ้าผู้เล่นตีลูก 2 ครั้งติดต่อกัน 1.5 ถ้าลูกเทเบิลเทนนิสสัมผัสถูกแดนของเขาแล้วตกกระทบพื้นผิวโต๊ะอีก ยกเว้นการส่งลูก 1.6 ถ้าผู้เล่นตีลูกเทเบิลเทนนิสด้วยหน้าไม้ที่ไม่ถูกต้อง 1.7 ถ้าผู้เล่นหรือสิ่งใดก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่ในขณะที่ลูกยังอยู่ในการเล่น 1.8 ถ้ามืออิสระของผู้เล่นสัมผัสพื้นผิวโต๊ะในขณะที่ลูกยังอยู่ในการเล่น 1.9 ถ้าผู้เล่นหรือสิ่งใดก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่ในขณะที่ลูกยังอยู่ในการเล่น 1.10 ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นตีลูกผิดลำดับ ยกเว้นในการส่งหรือรับลูก 1.11 เมื่อใช้ระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกไปแล้ว ผู้รับหรือคู่ของผู้รับสามารถตีโต้กลับมาโดยถูกต้องครบ 13 ครั้ง 1.12 ถ้าผู้ตัดสินลงโทษตัดคะแนนของผู้เล่น เกมการแข่งขัน ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 21 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ เว้นเสียแต่ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 20 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ แมตช์การแข่งขัน 1. ในหนึ่งแมตช์ประกอบด้วยผู้ชนะ 2 ใน 3 เกม หรือ 3 ใน 5 เกม 2. การแข่งขันจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายขอสิทธิ์ในการหยุดพักระหว่างจบเกม ซึ่งการพักจะพักได้ไม่เกิน 2 นาที ลำดับการส่ง รับ และแดน 1. สิทธิ์ในการเลือกก่อน จะใช้วิธีเสี่ยงทายโดยผู้ชนะในการเสี่ยงจะเลือกส่ง เลือกรับ หรือเลือกแดนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสละสิทธิ์ให้ผู้แพ้ในการเสี่ยงเป็นฝ่ายเลือกก่อน 2. เมื่อผู้เล่นหรือคู่ของผู้เล่นได้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้เล่นหรือคู่เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายเลือกบ้าง 3. เมื่อฝ่ายส่งได้ส่งลูกครบ 5 ครั้ง ฝ่ายรับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง จากนั้นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันส่งลูกฝ่ายละ 5 ครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน หรือทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 20 คะแนนเท่ากัน หรือเมื่อนำระบบการแข่งขันเร่งเวลามาใช้การส่งจะผลัดกันส่งฝ่ายละ 1 ครั้ง 4. ในประเภทคู่ ฝ่ายซึ่งมีสิทธิ์ในการส่งลูกก่อน จะต้องเลือกว่าใครจะเป็นผู้ส่งก่อนในเกมแรก และฝ่ายรับจะเป็นฝ่ายผู้รับ สำหรับในเกมถัดไปของแมตช์นั้นฝ่ายส่งจะเป็นผู้เลือกส่ง โดยฝ่ายรับจะเลือกผู้ที่จะเป็นผู้รับ สำหรับในเกมถัดไปของแมตช์นั้นฝ่ายส่งจะเป็นผู้เลือกส่ง โดยฝ่ายรับจะมีผู้รับก็คือผู้ที่ส่งให้เขาในเกมก่อนหน้านั้นเอง 5. ในประเภทคู่ ลำดับการเปลี่ยนส่งคือ เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 5 ครั้ง แล้ว ผู้รับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง โดยส่งให้กับคู่ของผู้ที่ส่งลูกให้เขา 6. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมแรกจะเป็นฝ่ายรับลูกก่อนในเกมต่อไปสลับกันจนจบแมตช์ และในการแข่งขันเกมสุดท้าย ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 10 คะแนน การผิดลำดับในการส่ง การรับ และแดน 1. ถ้าผู้เล่นส่งหรือรับลูกผิดลำดับ กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ได้ค้นพบข้อผิดพลาดและจะทำการเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นและผู้รับที่ควรจะเป็นผู้ส่งและผู้รับตามลำดับที่ได้จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมตช์นั้นต่อจากคะแนนที่ทำได้ สำหรับในประเภทคู่หากไม่สามารถทราบถึงผู้ส่งและผู้รับที่ถูกต้อง ลำดับในการส่งจะถูกจัดให้ถูกต้อง โดยคู่ที่มีสิทธิ์ส่งในครั้งแรกของเกมที่ค้นพบข้อผิดพลาดนั้น 2. ถ้าผู้เล่นไม่ได้เปลี่ยนแดนกันเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนแดน กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ทราบ และจะเริ่มเล่นใหม่โดยเปลี่ยนแดนกันให้ถูกต้องตามลำดับที่จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมตช์นั้นต่อจากคะแนนที่ทำได้ 3. กรณีใด ๆ ก็ตาม คะแนนทั้งหมดซึ่งทำไว้ได้ก่อนที่จะค้นพบข้อผิดพลาดให้ถือว่าใช้ได้ ระบบการแข่งขันเร่งเวลา 1. ระบบการแข่งขันเร่งเวลาจะถูกนำมาใช้ถ้าเกมการแข่งขันในเกมนั้นไม่เสร็จสิ้นภายในเวลา 15 นาที ยกเว้นในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีคะแนนไม่น้อยกว่า 19 คะแนน จะแข่งขันตามระบบเดิมหรือก่อนครบกำหนดเวลาก็ได้ ถ้าผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายต้องการ 1.1 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดีการเล่นนั้นจะถูกยุติลงโดยกรรมการผู้ตัดสิน และจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูกโดยผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งลูกอยู่ก่อนที่การตีโต้นั้นถูกยุติลง 1.2 ถ้าลูกไม่ได้อยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูกโดยผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกอยู่ก่อนที่เวลานั้นจะสิ้นสุดลง 2. หลังจากนั้นผู้เล่นแต่ละคนจะเปลี่ยนกันส่งลูกคนละครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน และในการตีโต้ หากผู้รับหรือฝ่ายรับสามารถตีโต้กลับมาอย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง ฝ่ายส่งจะเสีย 1 คะแนน 3. เมื่อระเบียบการแข่งขันเร่งเวลานำมาใช้ในเกมใดแล้ว เกมที่เหลือของแมตช์นั้น ๆ ให้ใช้ปฏิบัติต่อไปจนกระทั่งจบแมตช์นั้น เครื่องแต่งกาย 1. เสื้อผ้าที่ใช้แข่งขันปกติจะประกอบไปด้วยเสื้อแขนสั้น กางเกง ขาสั้นหรือกระโปรง ถุงเท้า และรองเท้าแข่งขัน ส่วนเสื้อผ้าชนิดอื่น ๆ เช่น บางส่วนหรือทั้งหมดของชุดวอร์ม จะไม่อนุญาตให้ใส่ในระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาด สำหรับในการแข่งขันของสมาคมฯ ให้ผู้เข้าแข่งขันสอดชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรงทุกครั้ง และเสื้อแข่งขันจะต้องเป็นเสื้อมีปกเท่านั้น 2. เสื้อแข่งขัน กางเกง หรือกระโปรง สีพื้นส่วนใหญ่จะเป็นสีอะไรก็ได้แต่จะต้องเป็นสีที่แตกต่างกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้แข่งขันอย่างชัดเจน ยกเว้นในส่วนของปก แขนเสื้อ ลายเสื้อ หรือใกล้กับขอบของเสื้อผ้าอาจเป็นสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้แข่งขันได้ 3. บนเสื้อผ้าแข่งขันอาจมีเครื่องหมายใด ๆ ได้ดังนี้ 3.1 เครื่องหมายหรือตัวอักษรที่แสดงสังกัดสโมสรด้านหน้าของเสื้อแข่งขันบรรจุในพื้นที่ได้ไม่เกิน 64 ตารางเซนติเมตร 3.2 ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน อาจมีหมายเลขหรือตัวอักษรแสดงสังกัด หรือแสดงถึงแมตช์การแข่งขัน 3.3 เสื้อผ้าอาจสามารถโฆษณาในขนาดที่กำหนดไว้ 3.4 เสื้อผ้าอาจมีสัญลักษณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมฯหรือสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ 4. หมายเลขประจำตัวของผู้เล่นที่ติดบนหลังเสื้อจะต้องอยู่เหนือโฆษณาและจะต้องอยู่ตรงกลางของด้านหลังของเสื้อ โดยมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 600 ตารางเซนติเมตร 5. การทำเครื่องหมายหรือการเดินเส้นใด ๆ บนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อผ้าหรือวัสดุใด ๆ เช่น เครื่องประดับที่สวมใส่จะต้องไม่จับตาหรือสะท้อนแสงไปยังสายตาของฝ่ายตรงข้าม 6. รูปแบบของเสื้อผ้าหรือตัวอักษร หรือการออกแบบใด ๆ จะต้องเป็นรูปแบบที่เรียบร้อยไม่ทำให้เกมนั้นเสื่อมเสีย 7. สำหรับปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของชุดแข่งขันให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ชี้ขาด 8. ในการแข่งขันประเภททีมและในการแข่งขันประเภทคู่ นักกีฬาที่มาจากสังกัดเดียวกันจะต้องแต่งกายให้มีสีและรูปแบบที่เหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ยกเว้นถุงเท้าและรองเท้า 9. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแต่งกายด้วยสีที่แตกต่างกันเพื่อง่ายต่อการสังเกตของผู้ชม 10. หากผู้เล่นหรือทีมไม่สามารถตกลงกันได้ในกรณีชุดแข่งขันที่เหมือนกันจะใช้วิธีจับสลาก สภาพของสนามแข่งขัน 1. มาตรฐานของพื้นที่การแข่งขันจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร กว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร สำหรับการแข่งขันระดับภายในประเทศ พื้นที่การแข่งขันจะอนุโลมให้มีความยาวได้ไม่น้อยกว่า 10.80 เมตร กว้างไม่นอ้ยกว่า 5.40 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร 2. พื้นที่การแข่งขันจะถูกล้อมไว้โดยรอบ ซึ่งที่ปิดล้อมหรือแผงกั้นจะมีขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร แยกพื้นที่การแข่งขันออกจากผู้ชม และสำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติที่ปิดล้อม หรือแผงกั้นที่ปิดรอบสนามแข่งขันจะต้องเป็นสีเดียวกันกับฉากหลังซึ่งเป็นสีเข้ม 3. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ความสว่างของแสงเมื่อวัดจากพื้นผิวโต๊ะแล้ว จะต้องมีความเข้มของแสงโดยสม่ำเสมอ และความสว่างในส่วนอื่น ๆ ของพื้นที่สนามแข่งขันจะต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความเข้มของแสงบนพื้นผิวโต๊ะ 4. แหล่งกำเนิดแสงสว่างจะต้องอยู่สูงกว่าพื้นสนามแข่งขันไม่น้อยกว่า 4 เมตร 5. ฉากหลังโดยทั่วไป ๆ ไป จะต้องมืดและไม่มีแสงสว่างจากแหล่งกำเนิดไฟอื่น หรือแสงสว่างจากธรรมชาติผ่านเข้ามาตามช่องหรือทางหน้าต่าง 6. พื้นสนามแข่งขันจะต้องไม่เป็นสีสว่างหรือสะท้อนแสง ในการแข่งขันระดับนานาชาติ พื้นสนามแข่งขันห้ามเป็นอิฐ คอนกรีต หรือหิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น